การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการวินิจฉัยและการวางแผนการรักษาในผู้ป่วยโรคปริทันต์

Authors

  • อัจฉริยา ตั้งจิตร์ตรง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • พรสวรรค์ ธนธรวงศ์ ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • พิณแข รัชนี ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ธีระ ลายธีระพงศ์ บริษัท ออด-อี (ประเทศไทย) จำกัด/ สำนักงานใหญ่ เลขที่ 2549/41-43 ถนนพหลโยธิน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยโรคปริทันต์อักเสบจากภาพถ่ายรังสีชนิดพาโนรามิก (Panoramic film) และประเมินผลโปรแกรมวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: เตรียมจัดทำฐานข้อมูลผู้ป่วยโดยใช้ข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคปริทันต์ตามเกณฑ์ของ American Academy of Periodontology (AAP) ในปี 1999 และยังไม่ได้รับการรักษาโรคปริทันต์ใดๆ จำนวน 90 คน รวมทั้งภาพถ่ายรังสีชนิดพาโนรามิกแบบดิจิทัล นำข้อมูลที่จัดเตรียมเข้าโปรแกรมวิเคราะห์ฟาสเตอร์อาร์ซีเอ็นเอ็น (Faster R-CNN) โดยมีเส้นทางหลักของระบบเน็ตเวิร์ก (Backbone Network) เป็น ResNeXt-101 with Feature Pyramid Network ทำการทดสอบโปรแกรมด้วยการวัดค่าความจำเพาะเจาะจง ความไวของโปรแกรม และวัดค่าประสิทธิภาพจากพื้นที่ใต้กราฟผลการศึกษา: โปรแกรมสามารถวินิจฉัยโรคปริทันต์อักเสบได้ ผลค่าความจำเพาะเจาะจงของโปรแกรมอยู่ที่ร้อยละ 65.3 และมีค่าความไวของโปรแกรมอยู่ที่ร้อยละ 80.5สรุป: ค่าความไวในการตรวจจับของโปรแกรมมีค่าสูงในระดับที่น่าพอใจ แต่จากข้อจำกัดในการศึกษาทำให้ค่าความจำเพาะเจาะจงไม่สูงมากนัก โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ขนาดของจำนวนกลุ่มตัวอย่างและค่าตัวแปรอื่นๆ ซึ่งต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของโปรแกรมให้ดีขึ้นต่อไปคำสำคัญ: โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การวินิจฉัยโรคปริทันต์อักเสบ คอนโวลูชัน การเรียนรู้เชิงลึก The Development of Computer Program for Diagnosis inPeriodontal PatientsAbstractsObjective: The purpose of this study is to develop a computer program by applying a deep learning and convolutional neural network for the diagnosis of periodontal disease among periodontal patients.Materials and Methods: The data was collected from the digital panoramic films of ninety patients in the department of General Dentistry, Faculty of Dentistry, Srinakarinwirot University. The patients had to have been diagnosed the periodontal status following the standards of the American Academy of Periodontology (AAP) in 1999 and did not have any treatment before taking an x-ray. The program was based on the structure of the Convolution Neural Network Faster R-CNN which has a ResNeXt-101 with Feature Pyramid Network as a Backbone network, used deep learning to develop the precision model. Calculated the specificity and sensitivity value and area under curve (AUC) were drawn.Results: The diagnostic performance of the deep learning system for periodontal disease on the panoramic radiograph had a high sensitivity of 80.5% and an acceptable specificity of 65.3%Conclusions: The diagnostic performance of the deep learning system for periodontal disease on panoramic radiograph was sufficiently high.Keywords: Computer Program, Periodontal Diagnosis, Convolution, Deep learning ว.ทันต.มศว ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2563 หน้า 44-59.SWU Dent J. 2020;13(1):44-59.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

อัจฉริยา ตั้งจิตร์ตรง, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

นิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา ทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง

พรสวรรค์ ธนธรวงศ์, ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

รองศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์หญิง

พิณแข รัชนี, ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

อาจารย์ ทันตแพทย์หญิง

ธีระ ลายธีระพงศ์, บริษัท ออด-อี (ประเทศไทย) จำกัด/ สำนักงานใหญ่ เลขที่ 2549/41-43 ถนนพหลโยธิน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Software developer

Downloads

Published

2020-06-26

How to Cite

1.
ตั้งจิตร์ตรง อ, ธนธรวงศ์ พ, รัชนี พ, ลายธีระพงศ์ ธ. การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการวินิจฉัยและการวางแผนการรักษาในผู้ป่วยโรคปริทันต์. SWU Dent J. [Internet]. 2020 Jun. 26 [cited 2024 Oct. 12];13(1):44-59. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/12663

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)