ความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเมทาคริเลตไฮยาลูโรนิกไฮโดรเจลในเซลล์กระดูกเบ้าฟันมนุษย์
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเมทาคริเลตไฮยาลูโรนิกไฮโดรเจล(methacrylated hyaluronic acid hydrogel) ในเซลล์กระดูกเบ้าฟันมนุษย์ (Human alveolar bone cells) วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: สังเคราะห์ไฮโดรเจลชนิดเมทาคริเลตไฮยาลูโรนิกไฮโดรเจลแล้วเพาะเลี้ยงร่วมกับเซลล์กระดูกเบ้าฟันมนุษย์จากผู้ป่วย 3 ราย ที่ตรวจสอบคุณลักษณะของเซลล์โดยดูการแสดงออกของยีนที่เป็นตัวบ่งชี้ของเซลล์สร้างกระดูก ทดสอบระดับปฏิกิริยาอัลคาไลน์ฟอสฟาเตสและการสะสมแร่ธาตุในแมทริกซ์ระหว่างเซลล์ เพื่อทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพโดยประเมินลักษณะรูปร่าง ความสามารถในการยึดเกาะและการเจริญเติบโตของเซลล์ ผลการทดลอง: เซลล์จากเนื้อเยื่อกระดูกของผู้ป่วยทั้ง 3 ราย มีการแสดงออกถึงการเป็นเซลล์สร้างกระดูกโดยมีการแสดงออกของยีนบ่งชี้เซลล์สร้างกระดูก ได้แก่ Col-I, Runx2 และ OCN ตอบสนองต่อการทดสอบระดับปฏิกิริยาอัลคาไลน์ฟอสฟาเตส และมีการสะสมแร่ธาตุในแมทริกซ์ระหว่างเซลล์ที่ติดสีเข้มมากขึ้นเมื่อติดตามผลในวันที่ 0, 7, 14, 21, 28 ตามลำดับ ในการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพ พบว่าเซลล์สามารถยึดเกาะบนเมทาคริเลตไฮยาลูโรนิกไฮโดรเจลได้ในเวลา 24 ชั่วโมง และสามารถเพิ่มจำนวนได้โดยมีค่าเฉลี่ยอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์ในวันที่ 14 เทียบกับวันที่ 1 เท่ากับ 1.44 ± 0.83 เท่า, 2.53 ± 1.58 เท่า และ 2.16 ± 0.50 เท่า ในเซลล์ไลน์ที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างจากกลุ่มที่เลี้ยงบนจานเพาะเลี้ยงเซลล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: ไฮโดรเจลชนิดเมทาคริเลตไฮยาลูโรนิกไฮโดรเจลที่สังเคราะห์ขึ้น มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพกับเซลล์กระดูกเบ้าฟันมนุษย์ โดยเมื่อเซลล์มีการยึดเกาะบนพื้นผิวของเมทาคริเลตไฮยาลูโรนิกไฮโดรเจลแล้วยังสามารถมีการเจริญเติบโตต่อไปได้คำสำคัญ: ไฮโดรเจล กรดไฮยาลูโรนิก เมทาคริเลต เซลล์กระดูกเบ้าฟันมนุษย์ ความเข้ากันได้ทางชีวภาพDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-12-26
How to Cite
1.
อารีวิจิตร ข, ธเนศวร น, ลัคนากุล จ, รังสิยานนท์ ส. ความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเมทาคริเลตไฮยาลูโรนิกไฮโดรเจลในเซลล์กระดูกเบ้าฟันมนุษย์. SWU Dent J. [Internet]. 2019 Dec. 26 [cited 2024 Sep. 15];12(2):22-37. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/12072
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น