ผลของนํ้ามันหอมระเหยกะเพราต่อการยับยั้งการเพิ่มจำนวนและ ทำลายไบโอฟิล์มของเชื้อ Candida albicans และผลการเสริมฤทธิ์ เมื่อใช้ร่วมกับยาไนสแตติน
Abstract
บทคัดย่อการรักษาโรคติดเชื้อราแคนดิดาในช่องปากโดยทั่วไปคือการใช้ยาต้านเชื้อราแผนปัจจุบัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะเชื้อดื้อต่อยาหรืออาการข้างเคียงจากยาที่รักษา การเลือกใช้สมุนไพรจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่อาจช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยกะเพราในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนและทำลายไบโอฟิล์มของเชื้อ Candida albicans รวมทั้งผลการเสริมฤทธิ์เมื่อใช้ร่วมกับยาไนสแตตินวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ทดสอบการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อ C. albicans จากน้ำมันหอมระเหยกะเพราโดยวิธีดิสค์ดิฟฟิวชั่นและไมโครบรอทไดลูชั่น ศึกษาการเสริมฤทธิ์ร่วมกับยาไนสแตตินโดยการวิเคราะห์ค่า FICI วิธีไทม์คิลถูกใช้ในการศึกษาระยะเวลาในการทำลายเชื้อ ขณะที่การศึกษารูปร่างของเซลล์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด และสุดท้ายการศึกษาฤทธิ์ทำลายไบโอฟิล์มที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยใช้วิธีย้อมด้วยสีคริสตัลไวโอเล็ตผลการทดลอง: น้ำมันหอมระเหยกะเพรามีฤทธิ์ในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อ C. albicans โดยมีค่า MIC และ MFC เฉลี่ยเท่ากับ 1.25 และ 1.75 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ อีกทั้งยังพบว่าสามารถเสริมฤทธิ์การทำงานร่วมกับยาไนสแตตินโดยมีค่า FICI เท่ากับ 0.71 โดยน้ำมันหอมระเหยกะเพราสามารถทำลายเชื้อได้ภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง ซึ่งเซลล์ที่ถูกทดสอบกับน้ำมันหอมระเหยมีรูปร่างเหี่ยวและหดตัวเล็กลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนั้นน้ำมันหอมระเหยกะเพรายังมีความสามารถในการทำลายไบโอฟิล์มที่เชื้อสร้างขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมสรุป: น้ำมันหอมระเหยกะเพรามีศักยภาพในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนและทำลายไบโอฟิล์มของเชื้อ C. albicans และสามารถเสริมฤทธิ์การทำงานร่วมกับยาไนสแตติน ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาต่อยอดต่อไปในอนาคตคำสำคัญ: Candida albicans, น้ำมันหอมระเหยกะเพรา ยาไนสแตติน ไบโอฟิล์ม การเสริมฤทธิ์Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-06-28
How to Cite
1.
ไกรศรีวรรธนะ ไ, นุชนนท์ จ, แสนคมคาย ว, บุญญานุโกมล ว. ผลของนํ้ามันหอมระเหยกะเพราต่อการยับยั้งการเพิ่มจำนวนและ ทำลายไบโอฟิล์มของเชื้อ Candida albicans และผลการเสริมฤทธิ์ เมื่อใช้ร่วมกับยาไนสแตติน. SWU Dent J. [Internet]. 2019 Jun. 28 [cited 2025 Jan. 22];12(1):51-64. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/11467
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น