การจัดบริการสุขภาพช่องปากระดับปฐมภูมิในกลุ่มเป้าหมายจำเพาะ ในเขตสุขภาพที่ 5

Authors

  • วรวรรณ อัศวกุล ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี เลขที่ 429 ถนนศรีสุริยวงศ์ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 70000

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาแนวโน้มอัตราการได้รับบริการสุขภาพช่องปากในกลุ่มเป้าหมายจำเพาะและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการสุขภาพช่องปากในเขตสุขภาพที่ 5 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบ Retrospective Descriptive Research โดยวิเคราะห์ ข้อมูลทุติยภูมิ(จำนวน CUP จำนวนทันตบุคลากร จำนวน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สภาวะทันตสุขภาพ จำนวนผู้ได้รับบริการ และความครอบคลุมของบริการ) จากการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขกรณีปกติ ข้อมูลจากระบบรายงาน มาตรฐาน HDC (Health Data Center) กระทรวงสาธารณสุขและข้อสรุปจากการสัมภาษณ์ทันตบุคลากร ใน ปีงบประมาณ 2559-2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาผลการศึกษา: การจัดบริการสุขภาพช่องปากระดับปฐมภูมิใน 66 CUP (Contracted Unit of Primary Care) ของเขตสุขภาพที่ 5 พบปัญหาอุปสรรค คือ 1) การขาดแคลนผู้ช่วยงานทันตกรรมประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล 53 CUP 2) ปัญหาการลงบันทึกข้อมูล การตรวจสอบ การส่งออกและการใช้ข้อมูล 43 แฟ้มเพื่อการวางแผนและประเมินผล 42 CUP และ 3) ปัญหาขาดแคลนทันตาภิบาล 34 CUPสำหรับอัตราการการได้รับบริการสุขภาพช่องปากพบมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยลำดับจากปี 2559-2561 ดังนี้ ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ (ร้อยละ26.2, ร้อยละ37.6, ร้อยละ43.5) กลุ่มเด็ก 3-5 ปี (ร้อยละ 56.4, ร้อยละ 66.9, ร้อยละ 69.1)  และกลุ่มเด็ก 6-12 (ร้อยละ 41.5, ร้อยละ 49.3, ร้อยละ57.8)  เพื่อเพิ่มความครอบคลุมการจัดบริการสุขภาพช่องปากในทุกกลุ่มเป้าหมายจำเพาะ จึงควรมีนโยบายระดับจังหวัดในการพัฒนาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน รพ.สต. ให้ร่วมจัดบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากพื้นฐาน เช่น ตรวจเฝ้าระวังสุขภาพช่องปาก ฝึกแปรงฟัน ทาฟลูออไรด์วานิชและบันทึกข้อมูลบริการ 43 แฟ้มให้ถูกต้อง และสนับสนุนให้มีการจ้างผู้ช่วยเหลืองานทันตกรรมข้างเก้าอี้ เพื่อช่วยเพิ่มทั้งปริมาณงานและคุณภาพของบริการสุขภาพช่องปากให้ดียิ่งขึ้นบทสรุป: แนวโน้มการได้รับบริการสุขภาพช่องปากสูงขึ้นโดยลำดับเฉพาะในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็ก 3-5 ปี และกลุ่มเด็ก 6-12 ปี พบปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการ คือ จำนวนทันตบุคลากรในหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ รวมทั้งการประเมินความครอบคลุมของบริการสุขภาพช่องปากเพื่อพัฒนาการทำงาน คำสำคัญ : การจัดบริการสุขภาพช่องปาก  บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ  เขตสุขภาพที่ 5

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

วรวรรณ อัศวกุล, ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี เลขที่ 429 ถนนศรีสุริยวงศ์ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 70000

ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ

Downloads

Published

2019-06-28

How to Cite

1.
อัศวกุล ว. การจัดบริการสุขภาพช่องปากระดับปฐมภูมิในกลุ่มเป้าหมายจำเพาะ ในเขตสุขภาพที่ 5. SWU Dent J. [Internet]. 2019 Jun. 28 [cited 2024 Dec. 22];12(1):65-80. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/11465

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)