ผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนนํ้าต่อผงของเรโทรเอ็มทีเอ ต่อช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างวัสดุกับผนังคลองรากฟัน
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนน้ำต่อผงของเรโทรเอ็มทีเอต่อช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างวัสดุกับผนังคลองรากฟัน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: นำฟันกรามน้อยล่างถอนของมนุษย์จำนวน 120 ซี่มาตัดส่วนตัวฟันออก เตรียมคลองรากฟันด้วยระบบไฟล์ยี่ห้อ ProtaperNEXT ขนาด X3 ตัดปลายรากฟันออก 3 มิลลิเมตรและเตรียมโพรงของปลายรากฟันให้มีความลึก 3 มิลลิเมตร แบ่งกลุ่มการศึกษาเป็นตามความข้นเหลวของเรโทรเอ็มทีเอที่แตกต่างกัน 3 กลุ่มคือ ข้น เหลว และปกติ ทำการอุดย้อนปลายรากเสร็จแล้ว นำตัวอย่างแช่ลงในสารละลายจำลองคล้ายของเหลวร่างกายเป็นระยะเวลา 2, 7, 30 และ 60 วัน เมื่อถึงเวลาดังกล่าวนำตัวอย่างมาวัดระยะช่องว่างระหว่างวัสดุกับเนื้อฟันและศึกษาการเกิดอะพาไทต์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดเครื่องเอกซเรย์สแปคโตรมิเตอร์ชนิดกระจาย นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ด้วยสถิติชนิดการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางและการทดสอบแบบทูกี้ ผลการศึกษา: การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนน้ำต่อผงและระยะเวลาที่แช่ในสารละลาย SBF ส่งผลต่อค่าเฉลี่ยระยะช่องว่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยระยะช่องว่างสูงสุดจะอยู่ในกลุ่มที่ใช้อัตราส่วนข้นสูงกว่าอัตราส่วนปกติและอัตราส่วนเหลวอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยระยะช่องว่างสูงสุดที่ 7 วัน และจะลดลงมีค่าต่ำสุดที่ 60 วันซึ่งต่ำกว่าในวันที่ 7 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และในวันที่ 60 พบการเกิดผลึกอะพาไทต์บริเวณรอยต่อระหว่างวัสดุกับผนังคลองรากฟัน สรุป: เรโทรเอ็มทีเอที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนน้ำต่อผง จะส่งผลต่อความแนบสนิทขอบคำสำคัญ: เรโทรเอ็มทีเอ อัตราส่วนน้ำต่อผง ความแนบสนิทขอบ อะพาไทต์Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-06-28
How to Cite
1.
โพธิ์กำเนิด พ, วิมลจิตต์ ส, ศักดิ์ดี จ. ผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนนํ้าต่อผงของเรโทรเอ็มทีเอ ต่อช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างวัสดุกับผนังคลองรากฟัน. SWU Dent J. [Internet]. 2019 Jun. 28 [cited 2025 Jan. 22];12(1):26-37. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/11462
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น