ผลการกำจัดเชื้อของยาปฏิชีวนะในคลองรากฟัน
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการกำจัดเชื้อเอนเทอโรคอคคัส ฟีคาลิสของยาทริปเปิ้ลแอนติไบโอติกและออกเมนตินในคลองรากฟันแท้วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ฟันกรามน้อยล่างรากเดี่ยวจำนวน 70 ซี่ ได้รับการสุ่มคัดฟัน จำนวน 5 ซี่ เป็นกลุ่มควบคุมลบ ฟันที่เหลือจำนวน 65 ซี่ได้รับการเพาะเชื้อเอนเทอโรคอคคัส ฟีคาลิสในคลองรากนาน 21 วันบันทึกจำนวนโคโลนีฟอร์มมิ่ง-ยูนิตต่อมิลลิลิตร (CFU/ml) ก่อนและหลังการใส่ยา 14 วัน ฟันที่ติดเชื้อจะได้รับการแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มที่ 1 ควบคุมบวก 5 ซี่ กลุ่มที่ 2 ยาทริปเปิ้ลแอนติไบโอติก 30 ซี่ และกลุ่มที่ 3 ยาออกเมนติน 30 ซี่ เปรียบเทียบปริมาณเชื้อที่ลดลงระหว่างกลุ่มยาด้วยสถิติแมน-วิทนีย์ยู สุ่มฟัน1 ซี่ จากกลุ่มควบคุมหลังการเพาะเชื้อ และฟัน1 ซี่จากแต่ละกลุ่มยามาตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดผลการศึกษา: ยาทริปเปิ้ลแอนติไบโอติกและออกเมนตินสามารถลดปริมาณเชื้อไม่แตกต่างกันในทางสถิติ(P value = 0.367) ค่ามัธยฐานปริมาณเชื้อที่ลดลงภายหลังการใส่ยาเท่ากับ 4.86 (พิสัย: 2.42 – 5.79) และ4.92 (พิสัย: 2.56 – 5.91) log CFU/mlสรุป: ยาทริปเปิ้ลแอนติไบโอติกและออกเมนตินมีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อเอนเทอโรคอคคัส ฟีคาลิสในคลองรากฟันและประสิทธิภาพของยาทั้ง 2 ชนิดไม่แตกต่างกันในทางสถิติ การใช้ออกเมนตินอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับยาที่ใส่ในคลองรากคำสำคัญ: ออกเมนติน เอนเทอโรคอคคัส ฟีคาลิส ยาทริปเปิ้ลแอนติไบโอติกDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-06-28
How to Cite
1.
พิริยะโยธิน พ, ไพศาลกอบฤทธิ์ ว, ดำรงวุฒิ ก, ศักดิ์ดี จ. ผลการกำจัดเชื้อของยาปฏิชีวนะในคลองรากฟัน. SWU Dent J. [Internet]. 2019 Jun. 28 [cited 2024 Nov. 18];12(1):11-25. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/11461
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น