การเตรียมเยื่อบุผิวช่องปากก่อนการฉีดยาชาและการรับรู้ความ เจ็บปวด: การศึกษานำร่อง

Authors

  • เมธัส ลิ้มมณี คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  • พิชชานันท์ พิศาลวรวัฒน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  • ลลิตพรรณ ทะแดง คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  • นิรดา ธเนศวร ภาควิชาโอษฐวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 ถนนสุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ขนิษฐ์ ธเนศวร ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

Abstract

บทคัดย่อวัตถุประสงค์: การศึกษานี้มุ่งที่จะเปรียบเทียบผลของการใช้ยาชาชนิดทา การทำให้เยื่อบุผิวเย็นด้วยน้ำแข็งและการไม่เตรียมเยื่อบุผิว โดยการเปรียบเทียบคะแนนความเจ็บปวดของผู้ป่วยขณะฉีดยาชาทางทันตกรรมวัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยผู้ใหญ่จำนวน 56 คน (อายุ 18-82 ปี, อายุเฉลี่ย 47 ปี) ที่มารับการถอนฟันภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะที่ด้วยเทคนิกอินฟิลเตรชันในคลินิกศัลยศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการคัดเลือกเข้าการศึกษานี้ และแบ่งเป็นสี่กลุ่มแบบสุ่ม กลุ่มแรกไม่มีการเตรียมเยื่อบุผิวก่อนการฉีดยาชาเฉพาะที่ กลุ่มที่สองได้รับการทายาชา และกลุ่มที่สามและสี่ได้รับการทำให้เยื่อบุผิวเย็นก่อนด้วยน้ำแข็งเป็นเวลา 5 และ 10 วินาทีตามลำดับ จากนั้นประเมินและบันทึกค่าคะแนนความเจ็บปวดขณะฉีดยาชาด้วยวิธีวิชวลแอนาลอกสเกล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีครัสคัล วัลลิส โดยโปรแกรมเอสพีเอสเอสผลการศึกษา: คะแนนความเจ็บปวดในทุกกลุ่มไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มที่หนึ่งซึ่งไม่ได้มีการเตรียมเยื่อบุผิวมีค่าเท่ากับ 3.30±2.38 กลุ่มที่สองซึ่งใช้ยาชาชนิดทามีค่าเท่ากับ 2.81±2.25 ส่วนกลุ่มที่ทำให้เย็นก่อนด้วยน้ำแข็งเป็นเวลา 5 และ 10 วินาทีมีค่าเท่ากับ 3.90±1.90 และ 2.67±2.20 ตามลำดับสรุปผลการศึกษา: การใช้ยาชาชนิดทา หรือ การทำให้เยื่อบุผิวเย็นก่อนเป็นเวลา 5 กับ 10 วินาที ก่อนการฉีดยาชาเฉพาะที่ในช่องปาก ไม่มีผลต่อการรับรู้ความเจ็บปวดของผู้ป่วย การลดขั้นตอนนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายเวลาและความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาชาชนิดทาได้คำสำคัญ: การทำให้ชาด้วยความเย็น การฉีดยา ความเจ็บปวด เยื่อเมือกช่องปาก

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

เมธัส ลิ้มมณี, คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

นิสิตทันตแพทย์

พิชชานันท์ พิศาลวรวัฒน์, คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

นิสิตทันตแพทย์

ลลิตพรรณ ทะแดง, คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

นิสิตทันตแพทย์

นิรดา ธเนศวร, ภาควิชาโอษฐวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 ถนนสุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

รองศาสตราจารย์, ทันตแพทย์

ขนิษฐ์ ธเนศวร, ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

อาจารย์, ทันตแพทย์

Downloads

Published

2018-06-30

How to Cite

1.
ลิ้มมณี เ, พิศาลวรวัฒน์ พ, ทะแดง ล, ธเนศวร น, ธเนศวร ข. การเตรียมเยื่อบุผิวช่องปากก่อนการฉีดยาชาและการรับรู้ความ เจ็บปวด: การศึกษานำร่อง. SWU Dent J. [Internet]. 2018 Jun. 30 [cited 2025 Jan. 22];11(1):67-74. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/10218

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)