ประสิทธิผลและความพึงพอใจจากการใช้ยาสีฟันชนิดนํ้าเปรียบเทียบ กับยาสีฟันชนิดครีมในผู้ป่วยจัดฟันเครื่องมือติดแน่น
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปริมาณคราบจุลินทรีย์ สภาพเหงือก และความพึงพอใจจากการใช้ยาสีฟันชนิดน้ำและครีมในผู้ที่จัดฟันเครื่องมือติดแน่นวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ศึกษาดัชนีสภาพเหงือกและดัชนีคราบจุลินทรีย์ Turesky modification ofthe Quigley-Hein Plaque index (TQHPI) และ Orthodontic plaque index (OPI) ค่าเริ่มตันและหลังใช้ยาสีฟันชนิดน้ำและครีมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ในอาสาสมัคร 20 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ10 คน มีระยะเว้นจากการทดลอง 1สัปดาห์ แล้วจึงสลับชนิดยาสีฟัน ทำการทดลองและวัดค่าซ้ำ เปรียบเทียบค่าดัชนีระหว่างค่าเริ่มต้นและหลังใช้ยาสีฟัน 2 สัปดาห์ เปรียบเทียบร้อยละความแตกต่างจากค่าเริ่มต้นของยาสีฟัน 2 ชนิด และประเมินแบบสอบถามความพึงพอใจโดยใช้ Wilcoxon signed-rank testผลการศึกษา: ยาสีฟันทั้งสองชนิดมีค่าร้อยละความแตกต่างจากค่าเริ่มต้นของดัชนีคราบจุลินทรีย์ไม่แตกต่างกันโดยที่ยาสีฟันชนิดน้ำมีแนวโน้มลดคราบจุลินทรีย์ได้มากกว่า อาสาสมัครรู้จักยาสีฟันชนิดครีมมากกว่า อยากใช้ยาสีฟันชนิดครีมในระยะยาว และรู้สึกว่ายาสีฟันชนิดครีมมีความสะอาดมากกว่ายาสีฟันชนิดน้ำอย่างมีนัยสำคัญ ยาสีฟันชนิดครีมกระตุ้นความสนใจ และมีความยากง่ายในการใช้ไม่แตกต่างกับยาสีฟันชนิดน้ำสรุป: ยาสีฟันทั้งสองชนิดสามารถคงสภาพเหงือกได้ สามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์ได้ไม่แตกต่างกันอาสาสมัครรู้จักยาสีฟันชนิดครีมมากกว่าและรู้สึกว่าการใช้ยาสีฟันชนิดครีมในระยะยาวมีความคุ้มค่าและมีความสะอาดมากกว่าคำสำคัญ: ยาสีฟัน แบร็กเกตทันตกรรมจัดฟัน ดัชนีคราบจุลินทรีย์ ดัชนีสภาพเหงือกDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2018-06-30
How to Cite
1.
กำจรฤทธิ์ อ, บุญมงคลรักษา พ. ประสิทธิผลและความพึงพอใจจากการใช้ยาสีฟันชนิดนํ้าเปรียบเทียบ กับยาสีฟันชนิดครีมในผู้ป่วยจัดฟันเครื่องมือติดแน่น. SWU Dent J. [Internet]. 2018 Jun. 30 [cited 2025 Feb. 23];11(1):56-6. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/10217
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น