ผลของโพแทสเซียมออกซาเลทต่อการเปลี่ยนสภาพซึมผ่านได้ของ เนื้อฟันภายใต้แรงดันจำลองของเนื้อเยื่อในโพรงฟัน

Authors

  • นรินี ชินะจิตพันธุ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
  • คัดเค้า วงษ์สวรรค์ ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
  • กนิษฐา กิจสมานมิตร ภาควิชาชีววิทยาช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
  • นพคุณ วงษ์สวรรค์ ภาควิชาชีววิทยาช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
  • อรพินธ์ อัจฉรานุกูล ภาควิชาโอษฐวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพซึมผ่านได้ของเนื้อฟันในช่วงเวลาหนึ่งภายหลังทาโพแทสเซียมออกซาเลทภายใต้แรงดันจำลองของเนื้อเยื่อในโพรงฟัน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ตัดฟันกรามน้อยในแนวขวางใต้รอยต่อชั้นเคลือบฟันและรากฟัน 1-2 มิลลิเมตร สร้างโพรงฟันบนปุ่มฟันใกล้แก้ม เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร ลึก 3 มิลลิเมตร แบ่งฟันออกเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มละ 10 ซี่) คือกลุ่มโพแทสเซียมออกซาเลทและน้ำกลั่น เพื่อวิเคราะห์ค่าไฮดรอลิคคอนดัคแต้นท์ ของเนื้อฟันจากการเคลื่อนที่ของฟองอากาศในท่อ 50 มิลลิเมตรปรอท ภายหลังกรอตัดเนื้อฟันหลังทากรด (ค่าอ้างอิง) โพแทสเซียมออกซาเลทหรือน้ำกลั่น ที่เวลา 0 30 และ 60 นาที โดยใช้สถิติ 1-Way RM ANOVA และ Holm-Sidak method ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยไฮดรอลิคคอนดัคแต้นท์หลังทาโพแทสเซียมออกซาเลททุกช่วงระยะเวลาลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับหลังทากรด จาก 0.0180±0.0136 เป็น 0.00755±0.00535 0.00677±0.00575 และ 0.00643±0.00585 nL/(mm2.sec.mmHg) ร้อยละการลดลงของค่าไฮดรอลิคคอนดัคแต้นท์หลังทาโพแทสเซียมออกซาเลททุกช่วง คือ 50.234±18.597, 43.940±18.233 และ 41.194±19.154 ตามลำดับ สรุป: การทาโพแทสเซียมออกซาเลทภายใต้แรงดันจำลองของเนื้อเยื่อในโพรงฟันสามารถลดสภาพซึมผ่านของเนื้อฟันภายหลังการทากรดได้ ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับภายหลังกรอตัดเนื้อฟัน โดยผลการรักษาดังกล่าวจะยังคงอยู่ภายใน 60 นาที คำสำคัญ: อาการเสียวฟันไวเกิน, โพแทสเซียมออกซาเลท, สภาพซึมผ่านได้ของเนื้อฟัน, ไฮดรอลิคคอนดัคแต้นท์ของเนื้อฟัน

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

นรินี ชินะจิตพันธุ์, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

นักศึกษาหลังปริญญา, หลักสูตรทันตแพทย์ประจำบ้าน (ทันตกรรมสำหรับเด็ก)

คัดเค้า วงษ์สวรรค์, ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ, ทันตแพทย์

กนิษฐา กิจสมานมิตร, ภาควิชาชีววิทยาช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ทันตแพทย์

นพคุณ วงษ์สวรรค์, ภาควิชาชีววิทยาช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

ศาสตราจารย์, ทันตแพทย์

อรพินธ์ อัจฉรานุกูล, ภาควิชาโอษฐวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

รองศาสตราจารย์, ทันตแพทย์

Downloads

Published

2018-06-30

How to Cite

1.
ชินะจิตพันธุ์ น, วงษ์สวรรค์ ค, กิจสมานมิตร ก, วงษ์สวรรค์ น, อัจฉรานุกูล อ. ผลของโพแทสเซียมออกซาเลทต่อการเปลี่ยนสภาพซึมผ่านได้ของ เนื้อฟันภายใต้แรงดันจำลองของเนื้อเยื่อในโพรงฟัน. SWU Dent J. [Internet]. 2018 Jun. 30 [cited 2025 Jan. 22];11(1):11-23. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/10214

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)