การสร้างแบบวัดความเป็นพลเมืองดีสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบวัดความเป็นพลเมืองดีสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความเป็นพลเมืองดีสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่4-6 3) สร้างเกณฑ์ปกติระดับท้องถิ่น (local Norms)ของแบบวัดความเป็นพลเมืองดีสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 และ 4) จัดทำคู่มือการใช้แบบวัดความเป็นพลเมืองดีสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพและสร้างเกณฑ์ปกติได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 516 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนผลการวิจัยสรุปว่า 1) แบบวัดที่สร้างขึ้นประกอบด้วยข้อคำถาม 92 ข้อ มุ่งวัดความเป็นพลเมืองดี 10คุณลักษณะ ได้แก่ 1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ซื่อสัตย์สุจริต 3) มีวินัย เคารพกฎหมายและกติกาสังคม 4) ใฝ่เรียนรู้ 5) อยู่อย่างพอเพียง 6) มุ่งมั่น รับผิดชอบในการทำงาน 7) รักความเป็นไทย 8) มีจิตสาธารณะ 9) มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และ 10) เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง ที่มีลักษณะเป็นข้อคำถามเชิงสถานการณ์แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก โดยแต่ละตัวเลือกมีคะแนนที่แตกต่างกันตั้งแต่ 0-3 คะแนน2) แบบวัดที่สร้างขึ้นมีความตรงตามตามเนื้อหาจากการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับนิยามของความเป็นพลเมืองดี พบว่า ข้อคำถามของแบบวัดมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.62 ความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โครงสร้างของแบบวัดมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยค่าไคสแควร์ ที่ค่าองศาอิสระ เท่ากับ 25 มีค่าเท่ากับ 37.14 ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อน (RMR) มีค่าเท่ากับ 0.043 ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า(RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.031 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.985 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับค่าแล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ0.968 และมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 3)เกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายคะแนนของแบบวัดความเป็นพลเมืองดีในรูปของคะแนนปกติทีทั้งฉบับมีค่าตั้งแต่ T19-T81 4) คู่มือการใช้แบบวัดที่จัดทำขึ้นมีความเหมาะสม สะดวกสามารถนำไปใช้ได้ และมีองค์ประกอบครบถ้วนคำสำคัญ : ความเป็นพลเมืองดี แบบวัด
Article Details
How to Cite
ช่อคง จ., ขจรศิลป์ บ., & ลัภนโชคดี ว. (2015). การสร้างแบบวัดความเป็นพลเมืองดีสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 8(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6771
Section
บทความวิจัย (Research Articles)