การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของความพึงพอใจในการทำงาน ของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

Main Article Content

บัณฑิต ปานสัมฤทธิ์
ฉัตรศิริ ปิยะพิมพลสิทธิ์
บุญเรียง ขจรศิลป์

Abstract

บทคัดย่องานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) พัฒนากรอบแนวคิดการวิจัยตามทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์ซเบิร์ก (Herzberg’sTwo-Factor Theory) และแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยบุคลากรที่ปฏิบัติงานภายใต้สังกัดสำนักงาน ป.ป.ส. จำนวน 306คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิชนิดที่เป็นสัดส่วน (proportional stratified sampling) เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราวัดประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติผลการวิจัย พบว่า (1) โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสำนักงาน ป.ป.ส. ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า2 = 199.905, df = 108,2 /df = 1.851, CFI = 0.952, TLI = 0.943, RMSEA= 0.052, SRMRW = 0.044 และ SRMRB = 0.124 ค่าสหสัมพันธ์ภายในชั้น (ICC) ของแต่ละตัวแปรสังเกตได้ในโมเดลการวัดความพึงพอใจในการทำงานมีค่าระหว่าง 0.056-0.083 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ทุกตัวแปร แสดงว่าข้อมูลมีความสอดคล้องกันสูงและความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสำนักงานป.ป.ส. ผันแปรตามการรับรู้ของบุคลากรแต่ละคน (2)โมเดลสมการโครงสร้างระดับบุคคล (individual level)พบว่า ตัวแปรสังเกตได้ทุกตัวในโมเดลการวัดความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสำนักงาน ป.ป.ส. มีระดับนัยสำคัญที่ .01 และมีความสำคัญในระดับใกล้เคียงกัน โดยมีปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนระดับบุคคล ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสำนักงาน ป.ป.ส. อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.01 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลทางตรงและค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลรวม เท่ากับ 0.610 และ0.241 ตามลำดับ ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสำนักงาน ป.ป.ส. ระดับบุคคล ได้ร้อยละ38.00 ขณะที่โมเดลสมการโครงสร้างระดับสำนัก(group level) พบว่า ตัวแปรสังเกตได้ทุกตัวในโมเดลการวัดความพึงพอใจการทำงาน มีระดับนัยสำคัญที่.01 และมีความสำคัญในระดับใกล้เคียงกันเช่นกัน โดยปัจจัยค้ำจุนด้านภาวะผู้นำ เป็นปัจจัยที่สำคัญและส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสำนักงาน ป.ป.ส. อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลทางตรงและค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลรวม เท่ากับ 2.854 โดยตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสำนักงาน ป.ป.ส. ในระดับสำนักได้ร้อยละ 98.60คำสำคัญ : ความพึงพอใจในการทำงาน โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ

Article Details

How to Cite
ปานสัมฤทธิ์ บ., ปิยะพิมพลสิทธิ์ ฉ., & ขจรศิลป์ บ. (2015). การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของความพึงพอใจในการทำงาน ของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 8(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6807
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)