การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่านสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ด้านการอ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่านสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่านในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) จัดทำคู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่านสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่านในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3) ทดลองใช้แบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่านพร้อมคู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่านในสภาพจริง ซึ่งมีลำดับขั้นตอนในการวิจัยเพื่อพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่าน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การคัดกรองเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ขั้นตอนที่ 2 การสร้างแบบทดสอบเชิงสำรวจข้อบกพร่องด้านการอ่านสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาและหาคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่านสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่านในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ขั้นตอนที่4 การจัดทำคู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่านสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และขั้นตอนที่ 5 การทดลองใช้แบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่านและคู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่านในสภาพจริงประชากรที่ใช้ในการพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่านในครั้งนี้ คือ นักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2555 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 212 คนผลการวิจัยสรุปได้ว่า1) แบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่านสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย ประกอบด้วย การเรียนรู้ด้วยสายตาและการฟัง การจำแนกตัวอักษร การจำแนกคำการวิเคราะห์คำ การเข้าใจความหมายของคำศัพท์ และการเข้าใจเนื้อเรื่อง จำนวน 70 ข้อ มีคุณภาพรายข้อด้านความยากของข้อสอบอยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.80และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 ถึง 0.84 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95 นอกจากนี้แบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่านมีความตรงตามเนื้อหา ความตรงตามโครงสร้าง และความตรงตามสภาพ2) คู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่าน ประกอบด้วย จุดมุ่งหมายของแบบทดสอบโครงสร้างของแบบทดสอบ ลักษณะของแบบทดสอบคุณภาพของแบบทดสอบ เวลาที่ใช้ในการทดสอบวิธีดำเนินการสอบ การตรวจให้คะแนน เกณฑ์การวินิจฉัยและวิธีการวิเคราะห์ข้อบกพร่อง และแบบแจ้งผลการวินิจฉัยข้อบกพร่องด้านการอ่าน3) การทดลองใช้แบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่านพร้อมคู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่านในสภาพจริง พบว่า แบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่านสามารถใช้วินิจฉัยข้อบกพร่องทางการอ่านของเด็กที่มีปัญหาทางการอ่านได้ ใช้ง่าย และไม่ยุ่งยาก และคู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่านฉบับสมบูรณ์ มีรายละเอียดของวิธีดำเนินการสอบ การตรวจให้คะแนนเกณฑ์การวินิจฉัย และการแจ้งผลการวินิจฉัยข้อบกพร่องด้านการอ่านชัดเจนและเข้าใจง่าย ครูสามารถนำไปใช้บริหารการสอบด้วยตนเองในสภาพจริงได้คำสำคัญ : แบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่าน ปัญหาด้านการอ่าน
Article Details
How to Cite
มิตรานันท์ ช., ขจรศิลป์ บ., & อารยะวิญญู ผ. (2015). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยด้านการอ่านสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ด้านการอ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 8(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6772
Section
บทความวิจัย (Research Articles)