ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Main Article Content

อิสริยา ปาริชาติกานนท์
อัจศรา ประเสริฐสิน

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 260 คน ด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม ซึ่งประกอบไปด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ทุนทางจิตวิทยา การสนับสนุนทางสังคม มารยาทบนอินเทอร์เน็ต การรับรู้ความรุนแรงของภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต และพฤติกรรมป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างและตัวแปรที่ศึกษา และใช้การวิเคราะห์แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยและวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่าแบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ หลังจากการปรับมีค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลุ่ม Absolute fit indices พบว่าค่าไค-สแควร์ ()=90.45, df=33 (p=0.000), SRMR=0.0462, RMSEA=0.0818, GFI=0.946 ดัชนีวัดความสอดคล้องกลุ่ม Incremental fit indices พบว่า NFI=0.926, CFI=0.951 และ NNFI=0.919 และดัชนีความสอดคล้องกลุ่ม Parsimony fit indices พบว่า AGFI=.0.891, PNFI=0.556 และ/df=2.740 สามารถสรุปได้ว่า แบบจำลองมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยที่พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตได้รับอิทธิพลทางบวกโดยอ้อมจากตัวแปรทุนทางจิตวิทยาผ่านตัวแปรการรับรู้ความรุนแรงของภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต และได้รับอิทธิพลทางบวกโดยอ้อมจากตัวแปรการสนับสนุนทางสังคมผ่านตัวแปรมารยาทบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งตัวแปรทั้งหมดร่วมกันอธิบายพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตได้ร้อยละ 58.6  จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าตัวแปรทุนทางจิตวิทยาและตัวแปรการสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยที่สำคัญส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อการมีพฤติกรรมป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษาหรือสถาบันครอบครัวจึงควรให้ความสำคัญต่อการปลูกฝังให้นิสิตมีคุณลักษณะดังกล่าวเพื่อส่งเสริมให้นิสิตสามารถเผชิญต่อภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตและสามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสม This research aimed to develop a model of causal factors affecting self-protective behavior from cyberbullying among undergraduate students. Two hundred and sixty undergraduate students of Srinakharinwirot Universitywere recruited by multi - stage random sampling technique. The instruments consisted of six parts of questionnaire; Socio-demographic, Psychological capital, Social support, Netiquette, Perceived severity of cyberbullying, and Self-protective behavior from cyberbullying questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and Structural Equation Model was developed for testing the hypotheses. The results showed that a model of causal factors affecting self-protective behavior from cyberbullying among undergraduate studentswas fitted with the empirical data (=90.45, df=33, p=0.000, SRMR=0.0462, RMSEA=0.0818, GFI=0.946, NFI=0.926, CFI=0.951, NNFI=0.919, AGFI=0.891, PNFI=0.556,/df=2.740). The details of the causal model indicated that psychological capital had indirect effect on self-protective behavior from cyberbullying through perceived severity of cyberbullying and social support had indirect effect on self-protective behavior from cyberbullying through netiquette. The combination of these variables predicted or explained self-protective behavior from cyberbullying at 58.6 percent. These results suggested that all factors especially psychological capital and social support are the part of important factors affecting self-protective behavior from cyberbullying. Therefore enhancing these factors among undergraduate students is necessitiesin order to respond and protecting themselves appropriately from cyberbullying including promoting awareness of the severity of cyberbullying as well. 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ปาริชาติกานนท์ อ., & ประเสริฐสิน อ. (2018). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. บรรณศาสตร์ มศว, 10(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/9948
Section
Research Articles

Most read articles by the same author(s)