การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาการจัดการตนเองของนิสิต ระดับปริญญาตรีหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Main Article Content

มยุรฉัตร นพกรสุขทองดี
อัจศรา ประเสริฐสิน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของการจัดการตนเอง 2) ประเมินความต้องการจำเป็นของการจัดการตนเอง และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการตนเองของนิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถามแบบการตอบสนองคู่สำหรับการจัดลำดับความสำคัญด้วยวิธี Priority Needs Index แบบปรับปรุง ซึ่งเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก 2 กลุ่ม ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 5 จำนวน 16 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 291 คน ผลวิจัยมี ดังนี้ 1. คุณลักษณะของการจัดการตนเองของนิสิตระดับปริญญาตรี ได้แก่ การจัดการอารมณ์ การบริหารเวลา การสร้างแรงจูงใจในตนเอง การตระหนักรู้ การมีวินัยในตนเอง และการประเมินผลตนเอง 2. ความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาการจัดการตนเองของนิสิตระดับปริญญาตรี พบว่า องค์ประกอบที่มีความต้องการสูงสุด คือ การบริหารเวลา (PNImodified = 0.25) รองลงมา ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจในตนเอง (PNImodified = 0.23) การประเมินผลตนเอง (PNImodified = 0.20).การตระหนักรู้ (PNImodified = 0.19) การมีวินัยในตนเอง (PNImodified = 0.18) และการจัดการอารมณ์ (PNImodified = 0.17) ตามลำดับ3. แนวทางในการพัฒนาการจัดการตนเองของนิสิตระดับปริญญาตรี มี 8 ข้อ ได้แก่ 1) นิสิตต้องรู้จักวางแผนบริหารจัดการเวลาที่เหมาะสมพร้อมกับการมีวินัยในตนเอง 2) นิสิตต้องสร้างแรงจูงใจด้วยตัวเอง 3) รับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น 4) การวางแผนชีวิตของคุณเองควรมีหลากหลายทางเลือก มีความยืดหยุ่น 5) ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง  6) รู้จักความอดทนเพื่อเอาชนะอุปสรรค 7) เข้าใจตัวเองและตระหนักถึงเป้าหมายด้วยตนเองเสมอ และ 8) ส่งเสริมให้ตนเองมีความคิดเชิงบวก The purpose of this research was to study the attributes involved to self-management, to evaluate the in needs in order to develop self-management skills, and to synthesis the guideline of self-management skills of undergraduate students in the Graduate Education Program at Srinakharinwirot University using a mixed method in qualitative and quantitative research approaches. The research instruments were semi-structure interview and the questionnaire as the dual–response format for priorities with Modified Priority Needs Index. The interviewing key informants were divided two groups; one group was 16 students and the others was 5 experts by purposively selected. The sample group were 291 5th-year students collected data by questionnaires. The research findings as follows: 1. Undergraduate students’ attributes of self-management were 6 factors: Emotion management, Time-management, Self-motivation, Self-awareness, Self-discipline and Self-assessment. 2. The needs assessment of self-management skills on the list with the highest PNImodified were as follows: Time-management (PNImodified=0.25), Self-motivation (PNImodified=0.23) Self-assessment (PNImodified= 0.20) Self-awareness (PNImodified= 0.19) Self-discipline (PNImodified= 0.18) and Emotions Management (PNImodified= 0.17), respectively. 3. The guideline of self-management development of undergraduate students was 8 folds: 1)    Students must know have proper time management plan, along with self-discipline 2) Students must motivation themselves 3) Students must be responsible for themselves and others 4)  Students must plan their own lives have a variety of options and to stay flexible 5)  Students must adapt and react to situations 6) Student must have patience to overcome obstacles 7) Students must themselves and a constant awareness of their goals 8) Student must encourage positive thinking. 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
นพกรสุขทองดี ม., & ประเสริฐสิน อ. (2018). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาการจัดการตนเองของนิสิต ระดับปริญญาตรีหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. บรรณศาสตร์ มศว, 10(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/9961
Section
Research Articles

Most read articles by the same author(s)