การพัฒนามาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนสาธิต
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนามาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนสาธิต โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการประกันคุณภาพของโรงเรียนสาธิต ซึ่งถือเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนสาธิตที่มีความเหมาะสมกับบริบทและตรงกับความต้องการของผู้เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนสาธิต ผลการวิจัย พบว่า มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนสาธิต ควรมีทั้งหมด 5 มาตรฐาน 6 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) มาตรฐานด้านคุณลักษณะเฉพาะด้านผู้เรียนของโรงเรียนสาธิตมีตัวบ่งชี้ 1 ตัวบ่งชี้ คือ ความเป็นผู้นำ 2) มาตรฐานงานวิจัยหรือนวัตกรรมทางการศึกษา มีด้วยตัวบ่งชี้ 1 ตัวบ่งชี้ คือ ระบบและกลไกด้านงานวิจัยหรือนวัตกรรมทางการศึกษา 3) มาตรฐานการบริการวิชาการ มีด้วยตัวบ่งชี้ 1 ตัวบ่งชี้ คือ ระบบและกลไกการบริการวิชาการแก่สังคม 4) มาตรฐานการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีตัวบ่งชี้ 1 ตัวบ่งชี้ คือ ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และ 5) การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีตัวบ่งชี้ 2 ตัวบ่งชี้ คือ ระบบและกลไกการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และคุณภาพนิสิตนักศึกษาที่ได้รับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จากนั้นได้ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนสาธิตด้วยวิธีการให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา ซึ่งพบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.71-1.00 พร้อมทั้งได้ปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และตรวจสอบความเป็นไปได้ของมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนสาธิต ด้วยวิธีสำรวจความคิดเห็นจากผู้บริหารที่รับผิดชอบโดยตรงด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และหัวหน้างานหรืออาจารย์ที่รับผิดชอบโดยตรงที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสาธิต ผลการประเมินความเป็นไปได้ในการนำมาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนสาธิตไปใช้ในโรงเรียนสาธิต แบ่งตามระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ พบว่า มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนสาธิต มีความเป็นไปได้ในการนำมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนสาธิตไปใช้ ในโรงเรียนสาธิตอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ส่วนด้านความเป็นประโยชน์ในการเอื้อให้เกิดการปรับปรุงหรือพัฒนาการจัดการศึกษาและมีความสอดคล้องกับปรัชญา ปณิธาน และ พันธกิจของโรงเรียนสาธิต อยู่ในระดับมากที่สุด AbstractThe purpose of this research was to develop standard, indicator, and criteria foreducational internal quality assurance of demonstration school through in-depth interviews withexperts with expertise and experience in educational quality assurance of demonstration school.That was a qualitative method gathering data concerning standard, indicator, and criteria foreducational internal quality assurance of demonstration school which was appropriate to thecontext and the needs of those concerned with the quality of education within demonstrationschool. The results showed that standard, indicator, and criteria for educational internal qualityassurance of demonstration school included all six indicators, five standards as follows: 1) aunique feature of the school students’ standard with one indicator of leadership, 2) researchor educational innovation’s standard with one indicator of research’s system and mechanismor educational innovation, 3) academic services’ standard with one indicator of academic servicessystem and mechanism, 4) culture preservation’s standard with one indicator of culture preservation’s system and mechanism, 5) the pre-service student teaching practicum’s experienceswith two indicators of pre-service student teaching practicum experiences’ system and mechanismsand student teacher experience’s practicum quality. Then the content validity of the standard,indicator, and criteria for educational internal quality assurance of demonstration school weredetermined by the experts. The results showed that the CVI was between 0.71 to 1.00 along withimproving form the experts’ advice. The determined feasibility of the standard, indicator, andcriteria for educational internal quality assurance of demonstration school were administeredto the executives with direct responsibility for accreditation and a supervisor or professor withthe internal quality assurance of demonstration school. The results showed the possibility ofbringing the standard, indicator, and criteria for internal quality assurance of demonstrationschool to use in any demonstration school was at a high and highest level as well as theusability of improvement contribution or development of education and the consistent with theschool philosophy and mission were at the highest level.
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
วงศ์โรจน์ ว., กองศิลป์ น., สุเสารัจ ป., อนุวงศ์ ก., & ประเสริฐสิน อ. (2017). การพัฒนามาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนสาธิต. บรรณศาสตร์ มศว, 9(1), 82–100. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/8383
Section
Research Articles