การพัฒนาโมเดลอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลต่อแรงจูงใจในการทำวิจัยของครู โดยมีสมรรถนะการจัดการตนเองกับการปฏิบัติงานของครูเป็นตัวแปรส่งผ่าน

Main Article Content

อัจศรา ประเสริฐสิน

Abstract

บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาโมเดลอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลต่อแรงจูงใจในการทำวิจัยของครู โดยมีสมรรถนะการจัดการตนเองกับการปฏิบัติงานของครูเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างคือ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร (สพฐ.) จำนวน 403 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดสมรรถนะการจัดการตนเองกับการปฏิบัติงานของครูที่พัฒนามาจากแนวคิดการจัดการตนเอง ค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง .903-.914 ค่าความเที่ยงรวมทั้งฉบับเท่ากับ .917 และแบบวัดแรงจูงใจในการทำวิจัย ได้ค่าความเที่ยงของแรงจูงใจภายใน เท่ากับ .868 การหลีกเลี่ยงความล้มเหลว เท่ากับ .719 และแรงจูงใจภายนอก เท่ากับ .800 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลแสดงอิทธิพล รวมถึงวิเคราะห์ค่าอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยส่วนบุคคลและแรงจูงใจในการทำวิจัยของคร ูโดยมีสมรรถนะการจัดการตนเองกับการปฏิบัติงานของครูเป็นตัวแปรส่งผ่านผลการวิจัยพบว่า โมเดลอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลต่อแรงจูงใจในการทำวิจัยของครูโดยมีสมรรถนะการจัดการตนเองกับการปฏิบัติงานของครูเป็นตัวแปรส่งผ่าน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ X2=121.839, df=98, p=0.052,GFI=0.945, AGFI=0.913 และ RMSEA=0.032 อิทธิพลจากปัจจัยส่วนบุคคลส่งไปยังแรงจูงใจในการทำวิจัยของครู พบว่าผลรวมอิทธิพลมีขนาด 0.940 ส่วนใหญ่เป็นอิทธิพลทางตรง (0.822) และเป็นอิทธิพลทางอ้อมที่ผ่านสมรรถนะการจัดการตนเองกับการปฏิบัติงานของครูเล็กน้อย (0.119) อิทธิพลจากปัจจัยส่วนบุคคลส่งไปยังสมรรถนะการจัดการตนเองกับการปฏิบัติงานของครู ผลรวมอิทธิพลมีขนาด 0.329 เป็นอิทธิพลทางตรงทั้งหมด ส่วนอิทธิพลจากสมรรถนะการจัดการตนเองกับการปฏิบัติงานของครู ส่งไปยังแรงจูงใจในการทำวิจัยของครู ผลรวมอิทธิพลมีขนาด 0.361 เป็นอิทธิพลทางตรงทั้งหมดดังนั้น การพัฒนาครูทั้งด้านปัจจัยส่วนบุคคลและการให้สามารถจัดการตนเอง จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพและเป็นประโยชน์ในด้านการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา จึงควรมีการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง AbstractThe purpose of this research was to develop the causal model of personal factorson teacher’s research motivation by teacher’s self-management in work as a mediator. Thesamples were 403 teachers under the Office of the Basic Education Commission, by two-stagerandom sampling. Data were collected by 2 questionnaires, (1) Teacher’s Self-Management inWork Test, developed from self- management approach. Internal consistency was excellent:Cronbach’s alpha coefficient = .917 (range from .903 to .914) and (2) The Research MotivationScale compounded with 3 factors: Intrinsic motivation, Failure avoidance, and Extrinsic motivationwith Cronbach’s alpha coefficients of .868, .719, and .800, respectively. Data were analyzed bycongruence testing of causal model and the direct and indirect effect of personal factors onteacher’s research motivation by teacher’s self-management in work as a mediator. Resultof research shows that causal model of personal factors on teacher’s research motivationby teacher’s self-management and work performance as a mediator fit with empirical data(Chi-Square=121.839, df=98, p=0.052, GFI=0.945, AGFI=0.913 and RMSEA=0.032). The main effect ofpersonal factors to teacher’s research motivation (0.940), direct effect (0.822) and indirect effectby teacher’s self-management in work as mediator (0.119), the direct effects of personal factors to teacher’s self-management in work (0.329), the direct effect of teacher’s self-managementin work to teacher’s research motivation (0.361). According to this result, teacher developmentboth of personal factors and self-management will effect to teacher’s research motivation whichresult in good quality of work and will benefit for and learning management in the actual context.So the organizations involved with education system should continuously promote teacherdevelopment.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ประเสริฐสิน อ. (2017). การพัฒนาโมเดลอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลต่อแรงจูงใจในการทำวิจัยของครู โดยมีสมรรถนะการจัดการตนเองกับการปฏิบัติงานของครูเป็นตัวแปรส่งผ่าน. บรรณศาสตร์ มศว, 9(1), 67–81. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/8382
Section
Research Articles

Most read articles by the same author(s)