การพัฒนาโปรแกรมการเล่านิทานและการเล่น ที่ส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

วิจิตรตา โป๊ะฮง
อัจศรา ประเสริฐสิน

Abstract

บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมการเล่านิทานและการเล่น ที่ส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สำหรับเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสารและงานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมิติสัมพันธ์ พัฒนาการของเด็กปฐมวัย และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเล่านิทานและการเล่นโดยใช้ทฤษฎีของเพียเจต์และอินเฮลเดอร์ รวมไปถึงทฤษฎีการเลียนแบบของบันดูราเป็นฐานในการพัฒนาโปรแกรม หลังจากนั้นนำเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์เนื้อหา และเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการศึกษา และด้านการศึกษาปฐมวัย จำนวน 5 ท่าน เพื่อพิจารณาเนื้อหาและตรวจสอบโปรแกรม และนำผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง จากนั้นนำผลที่ได้ไปพัฒนาปรับปรุงโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมมีความสมบูรณ์สามารถที่จะนำไปใช้พัฒนาเด็กได้อย่างมีคุณภาพ และนำโปรแกรมที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของ ผู้เชี่ยวชาญไปทดลองใช้กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ นักเรียนปฐมวัยชั้นปีที่ 2โดยใช้การสุ่มเลือกแบบเจาะจง เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหา วิธีการ และเวลาที่ใช้ในการดำเนินการผลการวิจัย พบว่าโปรแกรมการเล่านิทานและการเล่นที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจำนวน 12 กิจกรรม ใช้เวลาในการพัฒนา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วันวันละ 50 นาที ในช่วงเวลา 10.00-10.50 น. กิจกรรมประกอบด้วยรายละเอียด 5 ด้าน ได้แก่ ชื่อกิจกรรม จุดมุ่งหมายของกิจกรรมขั้นตอนในการทำกิจกรรมวัสดุที่ใช้ในการทำกิจกรรม และการประเมินผล โปรแกรมการเล่านิทานและการเล่นสามารถพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กได้ เนื่องจากผู้วิจัยได้สร้างโปรแกรมที่ใช้นิทานและการเล่นเป็นสื่อในการจัดกิจกรรมเพื่อที่จะพัฒนาเด็กปฐมวัยชั้นปีที่2 โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ได้ทบทวนเนื้อหาความรู้จากสิ่งที่ได้เรียนรู้ที่สอดแทรกมาในนิทานและการเล่น และโปรแกรมมีคุณภาพสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการพัฒนา รวมถึงเนื้อหา วิธีการ และระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กี่มีความเหมาะสมในการพัฒนาเด็กให้ได้รับความรู้ และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยได้ต่อไป AbstractThe purpose of this research is to develop a storytelling and playing program for the earlychildhood. Documentary research and related comprehensive articles and researches aboutvisual development of the dimension, early childhood development, and storytelling and playingwere employed in this research based on the Piaget’s theory, Inhelder’s theory and the modeltheory of Bandura. After studied and analyzed, the content was presented to 5 specialists ofpsychologist and early childhood educators in order to examine the content and program. Then,the result from the specialists was applied to calculate the Index of Congruence and modifiedfor an efficiency program. Then, the modified program was tried out to the information providerwho were the grade 2 pupils selected by purposive sampling for fining the appropriate content,method and timing. The result found that the storytelling and playing program created by 12events including 5 domains; program’s topic, purpose, procedure, instruments and assessment,and taken place for 4 weeks, 3days/a week, 50 minutes per day from 10.00-10.50, could developspatial ability of children due to the researcher created program which applied a storytellingand playing as an activity media to improve children in grade2 early childhood by giving theopportunity to children to practice through a variety of activities, to review the content that theyhad learned through the storytelling and playing. Moreover, the program was related to the objective of improvement, and the content, method, and time which use for children activitywas suitable for childhood. The productivity of this storytelling and playing program was foundefficient and related to the objective which is able to apply in improving the early childhood.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
โป๊ะฮง ว., & ประเสริฐสิน อ. (2017). การพัฒนาโปรแกรมการเล่านิทานและการเล่น ที่ส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สำหรับเด็กปฐมวัย. บรรณศาสตร์ มศว, 9(1), 14–28. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/8376
Section
Research Articles

Most read articles by the same author(s)