การรับรู้และประสบการณ์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยต่อคุณภาพการสอน และการประกันคุณภาพการศึกษาของการอุดมศึกษาไทย
Main Article Content
Abstract
บทนำ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และประสบการณ์ของคณาจารย์และผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย เกี่ยวกับคุณภาพการสอนและการประกันคุณภาพการศึกษาของ การอุดมศึกษาไทย โดยผู้ร่วมให้ข้อมูลคือ คณาจารย์และผู้บริหารจากมหาวิทยาลัย3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเก่า มหาวิทยาลัยใหม่ และมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งในแต่ละมหาวิทยาลัยจะประกอบไปด้วยคณาจารย์และผู้บริหารจาก 3 คณะวิชาคือ คณะวิชาทางวิทยาศาสตร์ คณะวิชาทางสังคมศาสตร์ และคณะวิชาทางศิลปกรรมศาสตร์ โดยแต่ละคณะจะมีจำนวนผู้ร่วมให้ข้อมูล 3 คน คือ คณาจารย์ 2 คน และ ผู้บริหาร 1 คน รวมมหาวิทยาลัยละ 9 คน ดังนั้นมีจำนวนทั้งสิ้น 27 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ผสมผสานกับการสุ่มแบบลูกโซ่ (Snowball sampling)กระบวนการเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured interview) และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Documentation) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic analysis) และการวิเคราะห์ข้อมูลในเอกสาร (Document analysis)ผลการวิจัยพบว่า 1) คณาจารย์เชื่อว่าคุณภาพการสอนของการอุดมศึกษาไทยโดยรวมยังคงต้องได้รับการพัฒนา2) คณาจารย์เสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพการสอนแบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ ด้านนโยบายและด้านกลไก 3) คณาจารย์ให้ข้อเสนอแนะด้านการประกันคุณภาพฯ ว่า ควรสร้างความตระหนักถึงคุณภาพให้เกิดขึ้นกับบุคลากรทุกคน ควรพัฒนาและประยุกต์ใช้ระบบตัวชี้วัดที่มีความชัดเจนเข้าใจง่ายและเหมาะสมกับแต่ละสาขาวิชา และควรลดทอนการตรวจสอบเอกสารให้น้อยลง 4) คณาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาคุณภาพการอุดมศึกษาโดยรวมคือ ควรปรับปรุงระบบการเรียนการสอน ควรปรับปรุงระบบพัฒนาคณาจารย์ ควรปรับปรุงทักษะภาษาต่างประเทศ ควรหลีกเลี่ยงการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง และควรปรับปรุงงานวิจัยทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ Keywords : คุณภาพการสอน การประกันคุณภาพการศึกษา การอุดมศึกษา ABSTRACT This research aims to study perceptions and experiences of academic staff and executive academics regarding the quality of teaching and quality assurance in higher education in Thailand. The participants of this study were academic staff and executive academics from three different universities, including an Old University, a New University and a Private University. It included nine participants from each university, who are from three different faculties, Faculty of Science, Faculty of Social Sciences and Faculty of Fine Art. And, each faculty included three participants, which consist of two academic staff and one executive academic. Therefore, there are totally twenty-seven participants all together. The sampling of this study employed the combination of a purposive sampling and a snowball sampling. The data were collected by using semi structured interview and documentation. Thereafter, the data analyses included a thematic analysis and a document analysis.The findings show that:1) The academics believe that the teaching quality in general needs to be improved. 2) Furthermore, the academics gave several ideas for improving the teaching quality, which can be categorized into two aspects: policy aspect and apparatus aspect. 3) For the QA system, they suggested how to improve the QA system by: fostering every HEI staff member’s awareness of quality, developing and implementing a transparent and non-bureaucratic performance indicator system, and reducing the dependence on documentation or paperwork.4) Finally, they recommended that the quality of higher education in Thailand could be improved by (1) improving the teaching and learning process, (2) improving the academic development system, (3) improving foreign language skills, (4) avoiding political interference, and (5) improving research both quantitatively and qualitatively. Keywords : Quality of teaching, Quality assurance, Higher education
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
ถูปาอ่าง อ., & ลิซ่าลูคัส ล. (2017). การรับรู้และประสบการณ์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยต่อคุณภาพการสอน และการประกันคุณภาพการศึกษาของการอุดมศึกษาไทย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/9864
Section
บทความวิจัย (Research Articles)