การศึกษาวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อการบ่มเพาะความซื่อตรง

Main Article Content

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี
กาญจนา ภูครองนาค

Abstract

บทนำ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาลักษณะของแนวคิดและวิธีการของกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนว          จิตตปัญญาศึกษาซึ่งสามารถบ่มเพาะความซื่อตรง (Integrity) ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน โดยอาศัยการวิจัยเอกสารเป็นระเบียบวิธีวิจัยหลัก ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงและยั่งยืนได้จริงด้วยการกลับเข้าไปทำงานกับธรรมชาติด้านในถึงระดับชุดความเชื่อพื้นฐาน หรือกรอบการอ้างอิง โดยเปลี่ยนวิธีการรู้คิด รื้อถอนชุดความเชื่อเดิม เกิดการขยับขยายกรอบการอ้างอิงให้กว้างใหญ่และครอบคลุมความจริงที่มากขึ้นกว่าเดิม  ในที่สุดจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนท่าที ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม เกิดเป็นวิถีชีวิตอย่างใหม่ที่จริงแท้ พึงประสงค์มากขึ้น และไม่ย้อนกลับ ส่วนวิธีการ / กระบวนการเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะความซื่อตรงตามแนวคิดนี้ สามารถแยกออกได้เป็น 3 แนวทางหลัก ๆ ได้แก่ (1) วิธีการ / กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากภายในตัวผู้เรียนเอง  (2) วิธีการ / กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากครอบครัว โรงเรียน และคนรอบข้าง  และ (3) วิธีการ / กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากสังคม วัฒนธรรม ประเทศชาติ และโลก  โดยทั้งหมดนี้ต่างมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและส่งผลเกื้อกูลกันและกัน อีกทั้งมีความสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ความหมายของความซื่อตรงที่ถูกรับรู้เข้าใจได้อย่างหลากหลาย Keywords :   จิตตปัญญาศึกษา   กรอบการอ้างอิง   ความซื่อตรง   การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ABSTRACT The research aims to investigate the concepts and the process of how to carry out the contemplation-oriented transformative learning in order to cultivate integrity in the learners, using the documentary research as its main methodology.  The results indicate that the contemplation-oriented transformative learning is able to bring about authentic and sustainable changes since it works deeply with the learners’ innermost nature of the frame of reference, in other words, how they view and understand the world.  Anew frame of reference will be reconstructed in the way that it becomes broader and more inclusive.  Consequently, this will lead to a new way of thinking, feeling, attitude and action, which is more desirable and irreversible.  Regarding the process and method, the results show that there are mainly 3 aspects of integrity cultivation: (1) the individual process, (2) the interpersonal process, and (3) the social process.  All of these processes and methods are interrelated; meanwhile, correspond with the definitions of integrity, which cover a diverse range of meanings. Keywords :   contemplative education, frame of reference, integrity, transformative learning

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อัสดรนิธี ส., & ภูครองนาค ก. (2017). การศึกษาวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อการบ่มเพาะความซื่อตรง. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/9863
Section
บทความวิจัย (Research Articles)