การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

ประเสริฐ เรือนนะการ
ญาณภัทร สีหะมงคล

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์น้ำหนักหรือร้อยละผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชาศึกษาทั่วไปและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชั้นปีที่ 2 และ 3 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ที่เคยเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 1,000 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเมทริกซ์ โดยกำหนดขนาดตัวอย่าง จำแนกตามชุดของเครื่องมือ ซึ่งเป็นแบบวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง 8 ด้าน จำนวน 3 ชุด เครื่องมือชุดที่ 1 วัดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ที่ 3, 4, 5, 6, 7 และ 8 เครื่องมือชุดที่ 2 วัดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ที่ 1 และ 2 และเครื่องมือชุดที่ 3 วัดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ที่ 1 และ 5 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า น้ำหนักหรือร้อยละของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง รายวิชาศึกษาทั่วไป ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจ (Knowledge : K) ร้อยละ 64.24 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attribute : A) ร้อยละ 9.93 และทักษะกระบวนการ (Process : P) ร้อยละ 25.83  ผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง รายวิชาศึกษาทั่วไปทั้งหมด 8 ด้าน ส่วนใหญ่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของรายวิชาศึกษาทั่วไป ด้านที่ยังไม่บรรลุหรือผลการประเมินระดับต่ำหรือปานกลาง ได้แก่ ด้านที่ 2 มีความรอบรู้ระดับมาก เพียงร้อยละ 5.9  ด้านที่ 4 มีทักษะการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต อยู่ในระดับปานกลาง และ ด้านที่ 5 มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะการคิดแบบองค์รวม อยู่ในระดับมาก เพียงร้อยละ 1.99 เท่านั้น คำสำคัญ : ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง,  รายวิชาศึกษาทั่วไป ABSTRACT This research aimed to analyze the weights or percentages of expected learning outcomes of general education subjects, and assess the expected learning outcomes of general education subjects Mahasarakham University. The sample used in this research  was MSU the second academic year students who were studied the general education subjects in the first semester , 2010.The sample size was 1,000 that was calculated  by using Taro Yamane formula and sampling techniques was matrix sampling of items which sample size determination was classified by set of research tools (there were 3 set of research tools : set 1 composes of 6 expected learning outcome types (type 3, 4, 5 ,6 ,7 and 8), set 2 composes of two expected learning outcome types (type 1 and 2 ) and set 3 composes of two expected learning outcome types (type 1 and 5 ), and the statistics for analysis of data  were percentage, mean , and standard deviation. The research results were as follows; The weights or percentages of expected learning outcomes of general education subjects consisted of being knowledge aspect with 64.24 percent, being attribute aspect with 9.93 percent, and  being process aspect with 25.83 percent. The evaluation results of expected learning outcomes of general education subjects with 8 aspects , most of them achieved the aims of expected learning outcomes, some aspects did not achieve such as aspect 2 : having widely knowledge, long vision or world outlook and understanding the nature with high level of 5.9 percent, aspect 4 : having the skills for seeking or looking for the knowledge throughout one’s life with medium level, and aspect 5 : having the skills for critical thinking and holistic thinking with very high level  only 1.99 percent. Keywords :   criteria Learning outcome, General education subjects

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เรือนนะการ ป., & สีหะมงคล ญ. (2017). การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/9852
Section
บทความวิจัย (Research Articles)