การพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์เขต 1

Main Article Content

อรพิณ พัฒนผล
ดร. เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
ชวลิต รวยอาจิณ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยตรวจสอบคุณภาพด้านความยาก อำนาจ จำแนก ความเที่ยงตรง และความเชื่อมั่น และเปรียบเทียบ ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่มีระดับชั้นและเพศแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 722 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two–Stages Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีลักษณะเป็นแบบสถานการณ์ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ซึ่งวัดความสามารถ 4 ด้านคือ ด้านการนิยามปัญหา การตัดสิน
ข้อมูล การระบุสมมุติฐาน และการสรุปอ้างอิง
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ด้านการพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 40 ข้อ มีคุณภาพดังนี้
1.1 ค่าความยากแต่ละด้านอยู่ระหว่าง .222-.798
1.2 ค่าอำนาจจำแนกแต่ละด้านอยู่ระหว่าง .200-.513
1.3 ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบทดสอบ
1.3.1 วิธีการหาค่าความสอดคล้องภายในมีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างในด้านการนิยามปัญหา การตัดสินข้อมูล การระบุสมมุติฐานและการสรุปอ้างอิง .662, .714, .833 และ .757 และรวมทั้งฉบับ มีค่า .747
1.3.2 วิธีการหาความสัมพันธ์ระหว่างแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกับแบบทดสอบมาตรฐานมีค่า .708
1.4 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ 1.4.1 วิธีการหาค่า KR-20 ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) มีค่า .808
1.4.2 วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์ rB (Coefficient rB) มีค่า .812
2. ด้านการศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้านการนิยามปัญหา การตัดสินข้อมูล การระบุสมมติฐาน และการสรุปอ้างอิงของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3 ที่มีระดับชั้นต่างกันและเพศต่างกัน
2.1 นักเรียนที่มีระดับชั้นแตกต่างกันมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้านการนิยามปัญหา การตัดสินข้อมูล การระบุสมมติฐาน และการสรุปอ้างอิง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้านการนิยามปัญหา การตัดสินข้อมูล และการ
สรุปอ้างอิงสูงกว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้านการระบุสมมติฐานสูงกว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.2 นักเรียนที่มีเพศแตกต่างกันมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้านการนิยามปัญหา การตัดสินข้อมูล การระบุสมมติฐาน และการสรุปอ้างอิง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนเพศหญิงมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้านการนิยามปัญหา การตัดสินข้อมูล การระบุสมมติฐาน และการสรุปอ้างอิง สูงกว่านักเรียนเพศชาย
2.3 ผลการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับชั้นและเพศพบว่า ไม่มีผลปฏิสัมพันธ์ของระดับชั้นกับเพศที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้านการนิยามปัญหา ด้านการตัดสินข้อมูล ด้านการระบุสมมติฐานและด้านการสรุปอ้างอิง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
พัฒนผล อ., ทองคำบรรจง ด. เ., & รวยอาจิณ ช. (2009). การพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์เขต 1. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/822
Section
บทความวิจัย (Research Articles)