ยุติธรรมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 1

Main Article Content

กรกช วิชัย
สุวพร เซ็มเฮง
ละเอียด รักษ์เผ่า

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรมของครูและเปรียบเทียบเหตุผลเชิงจริยธรรมของครูที่มีเพศและอายุแตกต่างกันกลุ่มตัวอย่างเป็นครูที่สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 776 คน จำแนกเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ จำนวน 477 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน จำนวน 299 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่ม อย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยมีโรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรมของครูซึ่งมีลักษณะเป็นสถานการณ์ 3 ตัวเลือก
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. ค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรมของครู ด้านความรับผิดชอบ ด้านความเมตตากรุณา และด้านความยุติธรรม จำนวนด้านละ 15 ข้อ รวมทั้งสิ้น 45 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.260 ถึง 0.644
2. ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรมของครูที่ได้จากการตรวจสอบความคงที่ภายในของแบบทดสอบด้านความรับผิดชอบ ด้านความเมตตากรุณา ด้านความยุติธรรมและทั้งฉบับมีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างเท่ากับ 0.866, 0.940, 0.911 และ 0.911 ตามลำดับ ซึ่งเป็นค่าความเที่ยงตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรมของครู วิเคราะห์ด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา(α – Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) ด้านความรับผิดชอบ ด้านความเมตตากรุณา ด้านความยุติธรรม และ
ทั้งฉบับมีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ 0.733, 0.829, 0.804 และ 0.920 ตามลำดับ
4. การศึกษาระดับเหตุผลเชิงจริยธรรมของครูเมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า เหตุผลเชิงจริยธรรมด้านความรับผิดชอบ ความเมตตากรุณา ความยุติธรรมและโดยรวมของครูหญิงอยู่ในระดับสูง ส่วนครูชายอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาจำแนกตามอายุ พบว่า เหตุผลเชิงจริยธรรมด้านความรับผิดชอบ ความเมตตากรุณา ความยุติธรรม และโดยรวมของครูที่มีอายุ 41 – 60 ปี อยู่ในระดับสูง ส่วนครูที่มีอายุ 22 – 40 ปี อยู่ในระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบเหตุผลเชิงจริยธรรมของครูที่มีเพศและอายุแตกต่างกัน พบว่า ครูหญิงและครูชายมีระดับเหตุผลเชิงจริยธรรมด้านความรับผิดชอบ ความเมตตากรุณาความยุติธรรม และโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และครูที่มีอายุในกลุ่ม 22 – 40 ปี และกลุ่ม 41 – 60 ปี มีระดับเหตุผลเชิงจริยธรรมด้านความรับผิดชอบ ความเมตตากรุณา ความยุติธรรมและโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่พบว่ามีปฏิสัมพันธ์ที่เกิดจากความแตกต่างระหว่างเพศและอายุของครูที่ส่งผลร่วมกันต่อระดับเหตุผลเชิงจริยธรรมด้านความรับผิดชอบความเมตตากรุณา ความยุติธรรมและโดยรวมของครู

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
วิชัย ก., เซ็มเฮง ส., & รักษ์เผ่า ล. (2009). ยุติธรรมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 1. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/811
Section
บทความวิจัย (Research Articles)