การพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Main Article Content

จารุวรรณ ทวันเวช
ชูศรี วงศ์รัตนะ
ประพนธ์ จ่ายเจริญ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ที่มีคุณภาพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ในแต่ละด้านและโดยภาพรวมของนักเรียน จำแนกตามเพศและระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ใช้ในการพัฒนาแบบทดสอบ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 180 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 146 คนแบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบทดสอบแบบเรียงความ และใช้เกณฑ์การตรวจให้คะแนนแบบวิธีวิเคราะห์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบสองทาง (Two-way multivariate analysis of variance)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.แบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงภายในวิชาคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงระหว่างวิชาคณิตศาสตร์กับวิชาอื่น มีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างเท่ากับ 0.991 และ 0.995 มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.45 ถึง 0.70 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่0.52 ถึง 0.79 คุณภาพด้านความเชื่อมั่นของผู้ตรวจให้คะแนนเท่ากับ 0.994 และคุณภาพด้านความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับคำนวณโดยใช้สูตรของเฟลตต์ - ราชู เท่ากับ 0.984
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความสามารถในการเชื่อมโยงภายในวิชาคณิตศาสตร์และความสามารถในการเชื่อมโยงระหว่างวิชาคณิตศาสตร์กับวิชาอื่น อยู่ในระดับปานกลาง
3. นักเรียนหญิงมีความสามารถในการเชื่อมโยงภายในวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนชายแต่ทั้งนักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีความสามารถในการเชื่อมโยงระหว่างวิชาคณิตศาสตร์กับวิชาอื่นไม่แตกต่างกัน
4. นักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูง มีความสามารถในการเชื่อมโยงภายในวิชาคณิตศาสตร์และความสามารถในการเชื่อมโยงระหว่างวิชาคณิตศาสตร์กับวิชาอื่นสูงกว่านักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ปานกลางและต่ำ ตามลำดับ
5. ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ทวันเวช จ., วงศ์รัตนะ ช., & จ่ายเจริญ ป. (2009). การพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/809
Section
บทความวิจัย (Research Articles)