เมตาคอกนิชันกับการเรียนรู้
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อเมตาคอกนิชันเป็นความคิดขั้นสูงที่ควบคุมกระบวนการคิดในการเรียนรู้ ในความหมายทั่วๆ ไปเมตาคอกนิชันหมายถึง การคิดเกี่ยวกับการคิด “thinking about thinking” และช่วยนักเรียนในการเรียนรู้ว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไร(learn how to learn) เมตาคอกนิชันมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ และมีความสำคัญทั้งต่อครูผู้สอนและนักเรียนกิจกรรมต่างๆ เช่น การวางแผนในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย ความเข้าใจในการตรวจสอบตนเอง และกระบวนการประเมิน เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของงาน ซึ่งทั้งหมดนี้คือกิจกรรมที่เกี่ยวกับเมตาคอกนิชัน เมตาคอกนิชันมีความสัมพันธ์กับระดับสติปัญญา และบุคคลที่มีความสามารถทางเมตาคอกนิชันสูงมีแนวโน้มที่จะเป็นนักคิดที่ประสบความสำเร็จในทัศนะของฟลาเวล เมตาคอกนิชันประกอบด้วยองค์ประกอบใหญ่ 2 ประการ คือ (1) ความรู้ในเมตาคอกนิชัน(metacognitive knowledge) และ (2) ประสบการณ์ในเมตาคอกนิชัน (metacognitive experiences) สำหรับองค์ประกอบแรก คือ ความรู้ในเมตาคอกนิชันหมายถึง ความรู้หรือความเชื่อของบุคคลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกิจกรรมการคิด/กิจกรรมทางปัญญาของบุคคล ซึ่งความรู้ในเมตาคอกนิชันประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 3 ประการได้แก่ (1) ความรู้เกี่ยวกับบุคคล (Person) (2) งาน (Task) และ(3) กลวิธี (Strategy) และองค์ประกอบที่สองคือประสบการณ์เกี่ยวกับเมตาคอกนิชัน ในการพัฒนาเมตาคอกนิชันให้กับผู้เรียน และการสนับสนุนให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ครูผู้สอนสามารถฝึกให้ผู้เรียนรู้จักการใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน (Metacognitive Strategies) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนใช้ควบคุมกิจกรรมการรู้คิดของตน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (เช่น การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ การเขียนที่มีประสิทธิภาพ และความเข้าใจในการอ่าน เป็นต้น) นอกจากนี้ ผลงานวิจัยส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่ากลวิธีเมตาคอกนิชันสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนตระหนักรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตน ซึ่งถ้าผู้เรียนรู้จักใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันเพียงแค่ 1 วิธี ยกตัวอย่างเช่น การใช้แผนผังมโนทัศน์ (Concept Mapping) เพื่อช่วยในการเรียนรู้ การเรียนรู้ก็พัฒนาขึ้นแล้วคำสำคัญ : พุทธิปัญญา เมตาคอกนิชัน กลวิธีเมตาคอกนิชัน การเรียนรู้
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
จุลรัตน์ พ. (2015). เมตาคอกนิชันกับการเรียนรู้. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 14(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/6714
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)