ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ของบุคลากรและนักศึกษา เครือข่ายสถาบันวิชาการสาธารณสุขและเทคโนโลยีทางการแพทย์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

Main Article Content

ภคิน ไชยช่วย

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์2. เพื่อตรวจสอบความสอดคล้ององค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์ 283 คน บุคลากร 263 คน นักศึกษา 254 คน ในวิทยาลัยเครือข่ายสถาบันวิชาการสาธารณสุขและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น แล้วสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตามสภาพจริง ผลการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามพิจารณาความตรงตามเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ความตรงเชิงโครงสร้างมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 เมื่อพิจารณาความเหมาะสมของเมทริกซ์สหสัมพันธ์ พบว่า ค่าสถิติ Bartlett's Test of Sphericity มีค่าเท่ากับ 4139.422, df = 15, p = .000 และค่าดัชนี Kaiser-Meyer-Olkin Measure of Sampling Adequacy (KMO) = 0.887 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ประกอบด้วย 1) วิสัยทัศน์ และนโยบาย 2) ความเข้าใจและเห็นประโยชน์จากงานวิจัย 3) การบูรณาการผลงานวิจัยกับงานประจำ 4) การสนับสนุนทรัพยากรกับงบประมาณ 5) การเข้าถึงผลงานวิจัย 6) การนำไปใช้ได้จริงและความน่าเชื่อถือของงานวิจัย 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนประกอบด้วยค่า   = 193.429,  = 101,  = 1.915, CFI = 0.990, TLI = 0.985, RMSEA = 0.034, SRMR = 0.019 น้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรสังเกตได้อยู่ระหว่าง .835 ถึง .934 และมีนัยสำคัญทุกค่าที่ระดับนัยสำคัญ .01 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่มีค่าสูงที่สุด คือ การสนับสนุนทรัพยากรกับงบประมาณเท่ากับ .934 รองลงมาได้แก่การบูรณาการผลงาน วิจัยกับงานประจำเท่ากับ .913 การนำไปใช้ได้จริงและความน่าเชื่อถือของงานวิจัยเท่ากับ .892 ความเข้าใจและเห็นประโยชน์จากงานวิจัยเท่ากับ .884 การเข้าถึงผลงานวิจัยเท่ากับ .865 ส่วนวิสัยทัศน์ และนโยบายมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบต่ำที่สุดเท่ากับ .835 คำสำคัญ : ปัจจัยที่มีอิทธิพล การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ไชยช่วย ภ. (2015). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ของบุคลากรและนักศึกษา เครือข่ายสถาบันวิชาการสาธารณสุขและเทคโนโลยีทางการแพทย์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/6674
Section
บทความวิจัย (Research Articles)