แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน : ภาพฝันที่เป็นจริงในวิชาภาษาไทย

Main Article Content

สุพัตรา อุตมัง

Abstract

บทคัดย่อ แนวคิดห้องเรียนกลับด้านของ Jonathan Bergman และ Aaron Sams เป็นการจัดการเรียนรู้ซึ่งเปลี่ยนการใช้ช่วงเวลาของการบรรยายเนื้อหาในห้องเรียนเป็นการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ และและประยุกต์ใช้ความรู้ ให้นักเรียนได้มีเวลาเรียนรู้แบบรู้จริงและลงมือปฏิบัติมากยิ่งขึ้น ส่วนการศึกษาเนื้อหาบทเรียนจะใช้เวลาที่บ้านผ่านสื่อเทคโนโลยีที่ครูเป็นผู้เตรียมไว้ให้  โดยแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน คือ 1) ครูภาษาไทยต้องจัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ที่นักเรียนสามารถศึกษาด้วยตนเอง2) ครูภาษาไทยต้องอธิบายวิธีการเรียนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านให้นักเรียนเข้าใจ รวมทั้งแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อให้ทั้งผู้ปกครองและนักเรียนปรับตัวให้พร้อมกับการเรียนแบบใหม่ 3)ครูภาษาไทยต้องจัดกิจกรรมในห้องเรียนให้นักเรียนได้ประโยชน์จากการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติและเรียนให้รู้จริงตามความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน  4)  ครูภาษาไทยต้องสร้างระบบประเมินผลอย่างเหมาะสมและเน้นการประเมินตามสภาพจริงในขณะที่นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมครูภาษาไทยควรนำการจัดการเรียนรู้ที่ก้าวทันเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน  โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อให้ภาพฝันการสอนภาษาไทยแบบห้องเรียนกลับด้านเป็นความจริง คำสำคัญ ห้องเรียนกลับด้าน,  การสอนภาษาไทย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อุตมัง ส. (2015). แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน : ภาพฝันที่เป็นจริงในวิชาภาษาไทย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/6667
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)