การวิเคราะห์เส้นทางในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ สำหรับโมเดลแบบ Non-Recursive
Main Article Content
Abstract
ทคัดย่อ การวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Path Analysis) เป็นการศึกษาสาเหตุหรืออิทธิพลของตัวแปรอิสระที่ส่งผลถึงตัวแปรตามเพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงอิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวม ในรูปแบบความสัมพันธ์แบบสาเหตุทางเดียว (Recursive Model) แต่ในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผู้วิจัยอาจพบว่า ตัวแปรในโมเดลอาจเป็นได้ทั้งสาเหตุและผลในเวลาเดียวกันเรียกโมเดลนี้ว่า รูปแบบความสัมพันธ์แบบสองทิศทาง (Non-Recursive Model) ซึ่งการวิเคราะห์โมเดลแบบ Non-Recursive นั้น จะพบปัญหาตัวแปรอิสระสัมพันธ์กันเองสูง (Multicollinearity) ความคลาดเคลื่อนในส่วนที่เหลือ (Residuals) สัมพันธ์กันและมีค่าไม่เป็น 0 อีกทั้งความเป็นได้ค่าเดียว (Identification) ต้องไม่เป็นแบบ Under-identification ของพารามิเตอร์ก่อนการประมาณค่าพารามิเตอร์ในการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ทั้งนี้บทความนี้ได้อธิบายถึงวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นสำหรับการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ ในโมเดลแบบ Non-Recursive โดยใช้การประมาณค่าพารามิเตอร์แบบ 2 Stage least square รวมถึงการคำนวณค่าอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมจากแผนภาพรูปแบบเส้นทางความสัมพันธ์ บทความนี้จะทำให้เกิดผลดีต่อผู้ที่สนใจหรือกำลังประสบปัญหาในการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่เป็นโมเดลแบบ Non-Recursive Model ได้มีแนวทางในการวิเคราะห์ศึกษาต่อไป คำสำคัญ : โมเดลแบบสองทิศทาง การวิเคราะห์เส้นทาง
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
ทองศิลป์ อ. (2015). การวิเคราะห์เส้นทางในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ สำหรับโมเดลแบบ Non-Recursive. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/6665
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)