การศึกษาบทบาทผู้บริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการสร้างองค์การเรียนรู้ (ระหว่างปี พ.ศ. 2547)
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทบาทผู้บริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการสร้างองค์การเรียนรู้ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งทางการบริหาร สายงานที่สังกัด คณะวิชาที่สังกัด อายุหน่วยงาน ระยะเวลาการทำงานที่หน่วยงาน ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเชาวน์อารมณ์ กับบทบาทผู้บริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในการสร้างองค์การเรียนรู้ และศึกษาค่าน้ำหนักความสำคัญระหว่างตำแหน่งทางการบริหาร สายงานที่สังกัด คณะวิชาที่สังกัด อายุหน่วยงาน ระยะเวลาการทำงานที่หน่วยงาน ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเชาวน์อารมณ์ที่ส่งผลบทบาท ผู้บริหาร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการสร้างองค์การเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ผู้บริหารที่มีการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน 10 คณะวิชา จำนวนรวม 169 คนประกอบด้วย คณบดี รองคณบดี หัวหน้าภาควิชา /หัวหน้ากลุ่มวิชา / ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เลขานุการคณะ และหัวหน้างาน ได้มาจากการคัดเลือกตาม เกณฑ์ โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือเป็นแบบสอบถามาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Correlation) แบบขั้น (Stepwise)ผลการวิจัยพบว่า บทบาทผู้บริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการสร้างองค์การเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาบทบาทผู้บริหารที่แสดงเป็นรายด้านจะแสดงบทบาท ผู้สอนในระดับมากรองลงมาเป็นบทบาทผู้สนับสนุน และบทบาทผู้เรียนรู้มีระดับการแสดงบทบาทมากใกล้เคียงกัน ส่วนบทบาทผู้ออกแบบ ผู้บริหารแสดงอยู่ในระดับปานกลาง ตัวแปรพยากรณ์ ได้แก่ สายงานที่สังกัด ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเชาวน์อารมณ์ มีความสัมพันธ์กับบทบาทในการสร้างองค์การเรียนรู้ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พหุคุณ เท่ากับ .694 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และตัวแปรพยากรณ์มีลักษณะวัดร่วมกันกับบทบาทในการสร้าง องค์การเรียนรู้ซึ่งสามารถอธิบายได้ถูกต้อง ร้อยละ 49.1 ค่าน้ำหนักความสำคัญของเชาวน์อารมณ์ และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ส่งผลทางบวกต่อบทบาทในการสร้างองค์การเรียนรู้อย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ.01 มีค่าเท่ากับ.454 และ .279 ตามลำดับ ส่วนค่าน้ำหนักความสำคัญของสายงานที่สังกัดส่งผลทางบวกต่อบทบาทในการสร้างองค์การเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 มีค่าเท่ากับ .111
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
สินอยู่ อ. (2009). การศึกษาบทบาทผู้บริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการสร้างองค์การเรียนรู้ (ระหว่างปี พ.ศ. 2547). วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 6(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/513
Section
บทความวิจัย (Research Articles)