การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย MANAGEMENT OF LEARNING BY USING PHENOMENA AS A BASE TO DEVELOP SYSTEMATIC THINKING SKILLS OF EARLY CHILDHOOD EDUCATION STUDENTS

Main Article Content

เอมอร ปันทะสืบ
พศิน หงษ์ใส

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างเป็นระบบของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 2 จำนวน 8 คน ที่เรียนในรายวิชานิทานและวรรณกรรมภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ แบบวัดทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบของนักศึกษา มีค่าคะแนนของแบบวัดทักษะการคิดอย่างเป็นระบบเท่ากับ 2.41 และ 3.63 ตามลำดับ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน มีค่าเท่ากับ 0.67 และ 0.70 ตามลำดับ จากผลการวิจัยดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับคะแนนจากแบบวัดทักษะการคิดอย่างเป็นระบบและผลคะแนนมีการเกาะกลุ่มกันมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ปันทะสืบ เ., & หงษ์ใส พ. (2024). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย: MANAGEMENT OF LEARNING BY USING PHENOMENA AS A BASE TO DEVELOP SYSTEMATIC THINKING SKILLS OF EARLY CHILDHOOD EDUCATION STUDENTS. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(2), 193–205. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16235
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ตะวัน ไชยวรรณ และกุลธิดา นุกูลธรรม. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน : การเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมความรู้ของผู้เรียนในโลกแห่งความจริง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์,15(2), 251-263.

พงศธร มหาวิจิตร. (2564). รู้จักและเข้าใจการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ใน รวมบทความ เรื่อง PhenoBL การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน (Phenomenon-based Learning). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่ 8). สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา.กรุงเทนพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.

มกราพันธ์ จูฑะรสก. (2556). การคิดอย่างเป็นระบบ: การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

มนตรี แย้มกสิกร. (2546). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สมเกียรติ อินทสิงห์. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิดการเรียนรู้โดยปรากฏการณ์เป็นฐานและกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องหลักสูตร ความสามารถในการคิดเชิงนวัตกรรมและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. ASEAN Journal of Education, 5(2), 21-32.

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2564). การเล่นตามรอยพระยุคลบาท : ปรากฏการณ์ที่ทรงคุณค่าเพื่อการเรียนรู้ ใน รวมบทความเรื่อง PhenoBL การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน (Phenomenon-based Learning). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Zhukov, T. (2015). Phenomenon-Based Learning: What is PBL? [Online]. Retrieved from https://www.noodle.com/articles/phenomenon-based-what-is-pbl