แนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ GUIDELINES FOR COLLABORATIVE NETWORKS OF EDUCATION MANAGEMENT FOR SPECIAL EDUCATION CENTER NETWORK GROUP 9 UNDER SPECIAL EDUCATION BUREAU

Main Article Content

จิรารัตน์ วงศ์โยธา
บุญฤทธิ์ เพ็ชรวิศิษฐ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาฯ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.857 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติค่าความถี่ค่า  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดเรียงอันดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอโดยวิธีการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าระดับสภาพที่เป็นจริงมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับสภาพที่พึงประสงค์เป็นรายด้านทุกด้าน โดยความต้องการจำเป็นในการบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาฯ องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด ลำดับที่ 1 ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมของเครือข่าย(PNIModified= 0.281) ลำดับที่ 2 ได้แก่ ด้านการประเมิ นผลและการปรับปรุงงาน(PNIModified =0.276) และลำดับที่ 3 ได้แก่ ด้านการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่าย(PNIIModified = 0.267) ผลการศึกษาแนวการบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาฯ พบว่าประกอบไปด้วยแนวทางที่สำคัญดังนี้ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ได้แก่ การสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญของเครือข่าย โดยการสร้างวิสัยทัศน์ของเครือข่ายร่วมกัน มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและส่งเสริมให้เครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาและการส่งต่อเด็กที่มารับบริการไปยังโรงเรียนเรียนรวม หรือโรงเรียนเฉพาะความพิการ และการติดตามความก้าวหน้าและการบริหารทรัพยากรร่วมกัน 2) ด้านการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่าย ได้แก่ การพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านเทคนิคการสอน และนวัตกรรมใหม่ในการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบนิเทศภายใน การส่งเสริมให้ครูเก่งให้พัฒนาเพื่อนครูด้านการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมและประสบการณ์ความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพเด็กพิการแบบองค์รวม 3) ด้านการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ได้แก่ การเปิดโอกาสและส่งเสริมให้เครือข่ายร่วมเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานและปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนเป็นรายกรณี (Case Conference) อย่างเป็นกัลยาณมิตรและได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน 4) ด้านการมีปฏิสัมพันธ์และสื่อสาร  ได้แก่ การพัฒนาร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรทั้งด้านความรู้ ทักษะที่จำเป็นเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญให้ครู การระดมทุน การส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจัดเก็บสารสนเทศของเด็กพิการ และการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจและการสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานเครือข่ายผู้ปกครองเพื่อสร้างความร่วมมือในการจัดการศึกษา 5) ด้านการประเมินผลและการปรับปรุงงาน ได้แก่ การร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายส่งเสริมระบบนิเทศภายใน การนิเทศ ติดตาม การประเมินผลโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของเครือข่ายความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
วงศ์โยธา จ., & เพ็ชรวิศิษฐ์ บ. . (2024). แนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ: GUIDELINES FOR COLLABORATIVE NETWORKS OF EDUCATION MANAGEMENT FOR SPECIAL EDUCATION CENTER NETWORK GROUP 9 UNDER SPECIAL EDUCATION BUREAU. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(2), 156–177. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16139
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กริช ธีรางศุ และ อำนาจ ชนะวงศ์. (2563). แนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 24 กาฬสินธุ์. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัมหาสารคาม.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่การปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.

ขจรวรรณ ภู่ขจร (2564). รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์เสนอบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

คณะกรรมการการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ.

จิระศักดิ์ สร้อยคำ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชัชวาลย์ สิงหาทอง. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือของสถานศึกษาด้านวิชาการของกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Modern Learning Development. 5(1), 231-45.

ปิยะภรณ์ พลเยี่ยม. (2565). แนวทางการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (2542) และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดหนองคาย. (2565). รายงานการประเมินตนเองศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดหนองคาย. ค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2564, จาก http://specialnongkhai.net/specialweb/index.php?module=index&id=1&visited#module=sar2565&1652189958692.

สุดารัตน์ แก้วสมบัติ. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุบิน ประสพบัว. (2562). กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2565). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอก : ผลการประเมิน SAR ภายใต้สถานการณ์ COVID - 19 การศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ. ศูนย์การศึกษาพิเศษ.

หวานใจ เวียงยิ่ง. (2564). กลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการการบริหารและพัฒนาศึกษา.มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.