กิจกรรมนาฏศิลป์ตามแนวคิดการเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ กับทักษะสมองอีเอฟของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น CLASSICAL DANCE ACTIVITIES BASED ON CREATIVE MOVEMENT APPROACH AND EXECUTIVE FUNCTIONS OF EARLY PRIMARY SCHOOL STUDENTS

Main Article Content

ศรัณยา หนูใหญ่ศิริ
ชาริณี ตรีวรัญญู

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมนาฏศิลป์ตามแนวคิดการเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อทักษะสมองอีเอฟ กลุ่มทักษะกำกับตนเอง ของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 19 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดทักษะการกำกับตนเองในกิจกรรมนาฏศิลป์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบวิลคอกซัน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการคัดเลือกข้อมูลที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของทักษะสมองอีเอฟของนักเรียนในแต่ละทักษะจากแบบบันทึกพฤติกรรมของนักเรียน ผลวิจัยปรากฏว่า 1) ชุดกิจกรรมนาฏศิลป์ตามแนวคิดการเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทักษะสมองอีเอฟ กลุ่มทักษะกำกับตนเอง ของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย กิจกรรม 5 กิจกรรมหลัก ซึ่งมี 10 กิจกรรมย่อย ที่เป็นการจัดกิจกรรมนาฏศิลป์ที่ผสมผสานกับหลักของการเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ 4 ด้าน คือ (1) ด้านร่างกาย (2) ด้านพื้นที่ (3) ด้านแรงกาย และ (4) ด้านความสัมพันธ์ โดยกิจกรรมมีการลำดับกิจกรรมตามลักษณะการเคลื่อนไหวจากการเคลื่อนไหวเพียงบางส่วนของร่างกาย หรือที่มีความซับซ้อนน้อย ไปสู่กิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายในหลายส่วน ทั้งหมด หรือซับซ้อนขึ้น 2) หลังการใช้ชุดกิจกรรม ปรากฏว่า นักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการมีทักษะสมองอีเอฟ กลุ่มทักษะกำกับตนเองสูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาโดยจำแนกตามทักษะ พบว่า ทุกทักษะมีคะแนนเฉลี่ยที่สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
หนูใหญ่ศิริ ศ. ., & ตรีวรัญญู ช. . (2024). กิจกรรมนาฏศิลป์ตามแนวคิดการเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ กับทักษะสมองอีเอฟของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น : CLASSICAL DANCE ACTIVITIES BASED ON CREATIVE MOVEMENT APPROACH AND EXECUTIVE FUNCTIONS OF EARLY PRIMARY SCHOOL STUDENTS. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(2), 49–66. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16130
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ชมนภัส วังอินทร์. (2560, 20 ตุลามคม). กิจกรรมเคลื่อนไหวพัฒนา ‘ไอคิว-อีคิวเด็ก’. สสส.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. https://www.thaihealth.or.th//Content/39231-กิจกรรมเคลื่อนไหวพัฒนา%20‘ไอคิว-อีคิวเด็ก’.html

ปนัดดา ธนเศรษฐกร. (2555). ทักษะสมอง EF กับพัฒนาการเด็กปฐมวัย. บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน).

แพง ชินพงศ์. (2562, 20 มกราคม). อันตรายจากโทรศัพท์มือถือที่(เผื่อ)คุณพ่อคุณแม่ยังไม่รู้. MGR Online. https://mgronline.com/qol/detail/9620000006652

มานิตา ลีโทชวลิต อรรถนุพรรณ. (24 กุมภาพันธ์ 2016). เรื่องที่ 1 แนวคิดเบื้องต้นในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย- thaicyberu [วีดีโอ].ยูทูบ. https://www.youtube.com/watch?v=BIGwEaJWKLQ&t=6s

ยศวีร์ สายฟ้า. (2554). แนวปฏิบัติที่เหมาะสมตามพัฒนาการ (Developmentally Appropriate Practice) ในชั้นเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น : จากกรอบแนวคิดทฤษฎีสู่หลักการที่เหมาะสม. วารสารครุศาสตร์, 39(2), 120-129

วราลี เดชพุทธวัจน์ และคณะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างอายุที่เริ่มใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และลักษณะสื่ออิเล็กทรอนิกส์กับพัฒนาการล่าช้าของเด็กอายุ 6 เดือน - 5 ปี. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์, 13(2), 1-19.

สมพร ฟูราจ. (2554). Mime : ศิลปะท่าทางและการเคลื่อนไหว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันอาร์แอลจี. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions ในเด็กวัย 7-12 ปี สำหรับพ่อแม่และครู. กรุงเทพฯ : บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จำกัด.

Amanda Morin. 4 Ways Kids Use Self-Monitoring to Learn. https://www.understood.org/en/articles/4-ways-kids-use-self-monitoring-to-learn

Langton, T. W. (2007). Applying Laban’s movement framework in elementary physical education. Journal of Physical Education, Recreation & Dance, 78(1), 17-53.

Lee, M. The Power of Creative Movement, Dance and Drama. https://www.littleskoolhouse.com/articles/the-power-of-creative-movement-dance-and-drama-2

Lytwyn, T. (2014). Stimulating the Brain with Creative Movement in the Classroom.

Hayes, H. M. (2017). Why Teaching Creative Movement to Young Dancers Is So Important—and 4 Activities for Class. https://dance-teacher.com/guest-blog-the-importance-of-creative-movement/

Muhamad, J., Razali, M., & Adnan, Y. R. A. N. R. (2017). Needs and criteria in developing creative movement module for preschool children. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 7(2), 570-581.

Zelazo, P. D., Blair, C. B., & Willoughby, M. T. (2016). Executive Function: Implications for Education. NCER 2017-2000. National Center for Education Research.

Zimmermann, N., & Mangelsdorf, H. H. (2020). Emotional benefits of brief creative movement and art interventions. The Arts in Psychotherapy, 70, 101686.