สภาพและแนวทางพัฒนากระบวนการนิเทศหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 STATE AND GUIDELINES FOR DEVELOPING THE SUPERVISION PROCESS OF EDUCATIONAL CURRICULUM IN THE OPPURTUNIY EXPANSION SCHOOLS OF PHICHIT PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

Main Article Content

ดาราวรรณ จันทร์หอม
ทัศนะ ศรีปัตตา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพกระบวนการนิเทศหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 และ 2) ศึกษาแนวทางพัฒนากระบวนการนิเทศหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 โดยการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพกระบวนการนิเทศหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูหัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 73 คน แบ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 38 คน และเป็นครูหัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ จำนวน 35 คน และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratied Random Sampling) ตามสัดส่วนของผู้บริหารและครูหัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสในแต่ละอำเภอในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางพัฒนากระบวนการนิเทศหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในการนิเทศหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 4 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพกระบวนการนิเทศหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ทั้ง 4 ขั้นตอน คือ  ขั้นตอนการศึกษาสภาพและความต้องการในการนิเทศ ขั้นตอนการดำเนินการนิเทศ  ขั้นตอนการวางแผนการนิเทศ และขั้นตอนการประเมินผลและรายงานผล ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ขั้นการดำเนินการนิเทศ อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ขั้นตอนการวางแผนการนิเทศ  ขั้นตอนการประเมินผลและรายงานผล และขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ขั้นตอนการศึกษาสภาพและความต้องการในการนิเทศ อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการนิเทศหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 พบว่า ต้นสังกัดควรจัดอบรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ ถึงความสำคัญของกระบวนการนิเทศหลักสูตรสถานศึกษาแก่ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรในสถานศึกษา ศึกษาสภาพปัญหา ศึกษาข้อมูลสารสนเทศ เพื่อนำมาวางแผน ดำเนินการและพัฒนาการนิเทศ ร่วมกันสรุปผล วิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไข จัดทำรายงานผลการประเมินการดำเนินการนิเทศหลักสูตรสถานศึกษาต่อต้นสังกัดและประชาสัมพันธ์ให้แก่สาธารณชนรับทราบ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
จันทร์หอม ด., & ศรีปัตตา ท. . (2024). สภาพและแนวทางพัฒนากระบวนการนิเทศหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2: STATE AND GUIDELINES FOR DEVELOPING THE SUPERVISION PROCESS OF EDUCATIONAL CURRICULUM IN THE OPPURTUNIY EXPANSION SCHOOLS OF PHICHIT PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(1), 173–188. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16032
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2559). การบริหารงานวิชาการและการนิเทศภายในสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ และรมณ์รัมภา ณัฐธัญอดิรุจ. (2563, กรกฎาคม-ธันวาคม). การวิจัยและพัฒนาแบบจำลองกระบวนทัศน์ทางการนิเทศการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาที่คัดสรร เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพทางการนิเทศการศึกษาในทศวรรษใหม่. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 10(2).

ฑัณฑิมา พงษ์พรม. (2558). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. กรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

บรรจรงค์ วรเศรษฐสุขศิริ. (2562). การพัฒนากระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ในศตวรรษที่21 (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

บุญกอง พลสมัคร. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พุทธชาด แสนอุบล. (2560). สภาพ ปัญหา และแนวทางการปรับปรุงการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขต 20 (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2557). การนิเทศการศึกษา. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา

รุ่งทิพย์ ทำนุ. (2558). สภาพการบริหารงานนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). การนิเทศการสอน Supervision of Instruction (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถิรพร เชาวน์ชัย. (2561). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา(เอกสารอัดสำเนาประกอบการสอน ภาควิชาบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สัมมา รธนิธย์. (2556). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา (พิมพครั้งที่4). กรุงเทพฯ:ข้าวฟ่าง.

สมคิด นาคกุล. (2550). การปรับปรุงการนิเทศภายในโรงเรียนต้นธงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 2 (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, ลำปาง.

สุมิตร สมศรี. (2556). การพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. (2564). รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2564. พิจิตร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, (2562). การนิเทศการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาอย่างเป็นระบบ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

เอกกมล ประคองทรัพย์. (2555). การนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.

Harris, Ben M. (1985). Supervisory Behavior in Education (3rd ed). New Jersey: Prentice-Hall.