การเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยใช้การปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาความเป็นจริงเป็นฐาน ENHANCEMENT OF ADVERSITY QUOTIENT OF UNDERGRADUATE STUDENTS BASED ON GROUP REALITY THERAPY

Main Article Content

อัมรินทร์ แก้วมณี
ณัฐวุฒิ อรินทร์

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ศึกษาผลการใช้การปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาความเป็นจริงเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษามหาวิทยาลัย เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษาก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาความเป็นจริงเป็นฐานและ 2) ความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษา ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาความเป็นจริงเป็นฐาน กับกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาความเป็นจริงเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีอายุระหว่าง 18 - 22 ปี ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าจำนวน 16 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชุด คือ 1) แบบวัดความสามารถในการเผชิญอุปสรรค 2) โปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาความเป็นจริงเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. นักศึกษากลุ่มทดลองมีความสามารถในการเผชิญอุปสรรคหลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักศึกษากลุ่มทดลองมีความสามารถในการเผชิญอุปสรรคหลังการทดลอง สูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า โปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาความเป็นจริงเป็นฐานสามารถเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษาได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
แก้วมณี อ. ., & อรินทร์ ณ. . (2023). การเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยใช้การปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาความเป็นจริงเป็นฐาน: ENHANCEMENT OF ADVERSITY QUOTIENT OF UNDERGRADUATE STUDENTS BASED ON GROUP REALITY THERAPY. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(1), 15–30. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15100
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กัลยารัตน์ อนนท์รัตน์, และจงกรม ทองจันทร์. (2561). การเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญ อุปสรรคของนักศึกษาพยาบาล. วิทยาลัยพยาบาลบรมบราชชนนี, กรุงเทพฯ.

ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม. (2559). การให้คำปรึกษาแบบพิจารณาความเป็นจริง. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 1, 2565, จาก http://ir.mcu.ac.th/content/31393405.pdf

ณัฐนันท์ เนตรทิพย์. (2552). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกกับความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค AQ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติ ทางการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ธัญญารัตน์ จันทรเสนา. (2555). ความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ธีรศักดิ์ กำบรรณารักษ์, ทิพย์สุดา เมธีพลกุล, และบุรชัย อัศวทวีบุญ. (2554). การศึกษาเปรียบเทียบเชาวน์อารมณ์ (EQ) และเชาวน์วิริยะ(AQ) ของบุคลากรในองค์กรที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักปรัชญาอื่นในการบริหารจัดการ. วารสารวิจัยทรัพยากรมนุษย์ มสธ, 6(1): 3 - 20.

ภัทรพงษ์ ธำมรงค์ปรีชาชัย. (2564). ความสุขทางปัญญาจากความเมตตากรุณาต่อตนเอง. วารสาร ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 9(2): 224-237

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ

วรวุฒิ อุตสาแท้. (2564). ปัจจัยพยากรณ์การเกิดภาวะความเครียดของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สุธิดา พลชำนิ. (2555). การสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย (ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ

หงษ์ บรรเทิงสุข, อินทนิล เชื้อบุญชัย, และมะลิสา งามศร. (2553). ความเครียดและภาวะสุขภาพจิต ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานีปีการศึกษา 2552. รายงานวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี.

ไหมไทย ไชยพันธุ์. (2562). การพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bandura, A. (1997). Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company.

Corey, G. (2004). Theory and practice of group counseling (6thed.). CA: Thomson Brooks.

Costa, J., & Pinto-Gouveia, J. (2011). Acceptance of pain, self-compassion and psychopathology: Using the chronic pain acceptance questionnaire to identify patients' subgroups. Clinical Psychology and Psychotherapy. 18: 292-302.

Dreisoerner, A., Junker, N.M., & Van Dick, R. (2021). The Relationship Among the Components of Self-compassion: A Pilot Study Using a Compassionate Writing Intervention to Enhance Self-kindness, Common Humanity, and Mindfulness. Journal of Happiness Studies. 22: 21-47.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.-G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41: 1149-1160.

Glaser W. (1965). Reality therapy: The new approach to psychotherapy. New York.

Glass, G.V. (1976). “Prymary Secondary and Meta – Analysis of Research,” Education Research. 52(07): 117 – 125.

Hockenberry, M. J. (2009). Wong's Essentials of Pediatric Nursing (8 th ed.).St. Louis,MO: Mosby/Elsevier.

Homan, K.J., & Sirois, F.M. (2017). Self-compassion and physical health: Exploring the roles of perceived stress and health-promoting behaviors. Health Psychology Open. 4(2), 1-9. Retrieved from https://doi.org/10.1177/2055102917729542.

Hsiao, T., Wenloong, C. & Ying, F. L. (2012). A Study on the Relationship between Thinking Styles (Attitudes) and Collaboration Attitudes of College Students in Taiwan. Journal of Educational and Instructional Studies in the World, 2(2), 46-57.

Kaori, T. & Motoko, F. (2015). The Relationship between Positive Thinking and Individual Characteristics: Development of the Soccer Positive Thinking Scale. Football Science,12: 74-83.

Farnoodian, P. (2016). The effectiveness of group reality therapy on mental health and self-esteem of students. Department of psychology, Payame Noor University. Tehran, Iran.

Rickers, S. (2012). The lived experience of self-compassion in social workers. Retrieved from http://hdl.handle.net/11299/135286.

Robert S. Feldman. (1996).The Psychology of Adversity. Massachusetts: The University of MMassachusetts.

Shapiro, S. S., & Wilk, M. B. (1965). Biometrika: An Analysis of Variance Test for Normality (Complete Samples), 52(3/4): 591-611.

Stoltz, P. G. (1997). Adversity quotient: turning obstacles into opportunities. New York: John Wiley & Sons.

Susannah, C., & Christopher, L. (2019). Integrating Self-Compassion Across the Counselor Education Curriculum. Journal of Creativity in Mental Health, 14: 1-1.