การประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

Main Article Content

เมทินี ทนงกิจ
สุนทรี สกุลพราหมณ์

Abstract

การประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ เป็นการประเมินเพื่อการเรียนรู้แบบหนึ่ง มีลักษณะเป็นกระบวนการเก็บรวบรวม ติดตาม ค้นหา และตรวจสอบพัฒนาการในการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีแนวทางพัฒนาผลงานหรือพฤติกรรมการเรียนรู้ให้เป็นไปตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง และช่วยให้ผู้สอนมีแนวทางการปรับวิธีการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยวิธีการประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ เช่น การอภิปราย การมอบหมายงาน แฟ้มสะสมผลงาน การเปรียบเทียบผลงานกับเกณฑ์ประเมิน การสะท้อนคิดด้วยตนเอง การให้ข้อมูลป้อนกลับ เป็นต้น ส่วนการประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์ก่อนการประเมิน ได้แก่ การเลือกแนวคิดการประเมิน การกำหนดประเด็นที่ต้องการประเมิน การเลือกรูปแบบการประเมิน การกำหนดและพัฒนาเครื่องมือประเมิน 2) กลยุทธ์ระหว่างการประเมิน ได้แก่ การเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน การอธิบายแนวทางการประเมิน การตรวจสอบความพร้อมในการประเมิน การดำเนินกิจกรรมการประเมิน การพัฒนาการเรียนรู้ การสรุปประเด็นการเรียนรู้จากการประเมิน 3) กลยุทธ์หลังการประเมิน ได้แก่ การจัดการความรู้ การวิจัยเพื่อพัฒนา และเงื่อนไขสำคัญในการประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ได้แก่ ลักษณะของผู้เรียน ผู้สอน และเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ทนงกิจ เ. ., & สกุลพราหมณ์ ส. . (2023). การประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 23(2), 262–279. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/14696
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)