ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหาร่วมกับคำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และการกำกับตนเองในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ปัญจวิชญ์ ทองสุข
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร
คมสัน ตรีไพบูลย์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และเพื่อศึกษาการกำกับตนเองในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยในเมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหาร่วมกับคำถามระดับสูง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านสวนจั่น (อนุสรณ์) จังหวัดชลบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน 49 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหาร่วมกับคำถามระดับสูง แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น .82 ค่าความยากตั้งแต่ .51-.61 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .23-.35 และแบบประเมินการกำกับตนเองในการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบทีกลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหาร่วมกับคำถามระดับสูงสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) การกำกับตนเองในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหาร่วมกับคำถามระดับสูง อยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.71 และ .82 ตามลำดับ   คำสำคัญ: การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหาร่วมกับคำถามระดับสูง, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, การกำกับตนเองในการเรียน  ABSTRACT The purpose of this research were to compare the students’ mathematical problem solving ability with 70 percent criterion and to study the self-regulation of learning of ninth-grade students after obtaining mathematics learning activities using metacognition in problem-solving with higher-order questions. The sample of this study was 49 students in ninth grade in the second semester of the 2019 academic year at Bansuanjananusorn School. They were randomly selected by using cluster random sampling. The instruments were lesson plans, a mathematical problem-solving ability test (with the reliability of .82, the difficulty between .51 - .61 and the discrimination between .23 - .35) and a self-regulation learning evaluation form (with the reliability of .89). The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation, and t-test for one sample. The results showed that 1) the mathematical problem-solving ability of the sample group after obtaining mathematics learning activities using metacognition in problem-solving with higher-order question was higher than 70 percent criterion at .01 level of statistical significance. 2) Self-regulation of learning of the sample group after obtaining mathematics learning activities by using metacognition in problem-solving with higher-order question was in the frequently level with the arithmetic mean and standard deviation of 2.71 and .82 respectively. Keywords: Metacognition in Problem Solving with Higher-Order Questions, Mathematical Problem-Solving Ability, Self-Regulation of Learning    

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ทองสุข ป., อังกนะภัทรขจร เ., & ตรีไพบูลย์ ค. (2022). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหาร่วมกับคำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และการกำกับตนเองในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 23(1), 153–169. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/13885
Section
บทความวิจัย (Research Articles)