การพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมระดับประถมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อพัฒนาการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ให้เด็กวัยประถมศึกษาตอนปลาย มีความเข้าใจมีความสามารถในการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมเพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข งานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1) ระยะศึกษา โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยประกอบด้วย 4 ด้านคือ ด้านการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ ด้านการเรียนการสอนศิลปศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ด้านการสอนในบริทบทการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และด้านการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยมีประสบการณ์ในแต่ละด้าน 5 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 9 ท่าน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา ทำการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ โดยแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนานวัตกรรมฯ ทำให้สามารถสรุปแนวทางการพัฒนาเป็น 6 องค์ประกอบ ได้แก่ แนวทางคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก แนวคิดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีจุดประสงค์ 3 ด้าน (ความรู้ ทักษะ ลักษณะนิสัย) รูปแบบการสอนแบบเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เนื้อหาเหมาะสมกับวัย และรูปแบบสื่อที่หลากหลายควบคู่กับเทคโนโลยี และในระยะที่ 2) ระยะพัฒนา โดยนำข้อมูลในระยะที่ 1 พัฒนานวัตกรรม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1)ชุดกิจกรรม (Activities Package) ชื่อว่า “History of Art… การเดินทางของศิลปะ” ประกอบด้วย คู่มือการใช้และแผนการสอน หนังสือสิ่งพิมพ์ คลิปวิดิโอ วัสดุอุปกรณ์กิจกรรมศิลปะ เกมการ์ด การเรียนรู้ผ่าน QR Code เพื่อเชื่อมโยงสู่สื่อรูปแบบดิจิทอลและพิพิธภัณฑ์ออนไลน์ รวมทั้งรูปแบบการประเมินผลด้วยแบบวัดทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และแบบสัมภาษณ์ผู้เรียน โดยนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น ได้รับการประเมินด้วยแบบประเมินคุณภาพนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 ท่าน นำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า นวัตกรรมผ่านการประเมินผลในระดับเหมาะสมมากทั้ง4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านวัตถุประสงค์ และด้านการเรียนรู้ และมีค่าแบบวัดทักษะหลังเรียน (4.12) สูงกว่าก่อนเรียน (3.72) รวมทั้งผู้เรียนให้ความเห็นผ่านแบบสัมภาษณ์ว่า รู้สึกชอบ สนุกสนานเพลิดเพลิน ได้ความรู้ ความเข้าใจถึงที่มาของศิลปะ มีความกระตือรือร้นอยากทำงานศิลปะที่หลากหลาย คำสำคัญ : นวัตกรรมการศึกษา, ประวัติศาสตร์ศิลป์, ประถมศึกษาตอนปลาย, การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ABSTRACT The research objectives were 1) To study the strategy of the development of art history, innovation for improving cross-cultural understanding in elementary and 2) To develop art history learning in elementary understand and abilities to learning in cross-cultural for living happily in society. The research separates to 2 phases. First phase: study, target group was 4 areas of research-related experts, including Art History teaching, elementary teaching, cross-cultural learning and educational innovation. All experts 9 persons have experience in each field for 5 years or more. Research methodology was Research and Development and data were collected by interview form. The result summary of development are 6 guidelines: the guidelines are based on the student, the concept promotes self-learning, 3 purposes (knowledge, practice and attitude), Active Learning, appropriate content to student age and wide range of media formats coupled with technology. Second phase: develop, using data in the first phase to develop innovation. Research tools are 1) Activities Package “History of Art… Kan-Duen-Tang-Khong-Sil-La-Pa” including manual and lesson plans, Book, Video clip, Art supplies, Game Card, QR Code Learning related to digital media and online museum and evaluation format are Cross-cultural skill test and student interview form. The innovation was assessed by 9 experts in Innovation Quality Assessment. Try out with P.5 30 Students. Key finding was innovation through a very reasonable level of 4 side evaluation: content, design, purposes and learning. Cross-cultural skill posttest (4.12) higher than pretest (3.72). Nevertheless, student’s comment on the interview that feels like fun and enjoyable, gaining knowledge and understanding of the history of art. Enthusiastic about wanting to make a variety of artworks. Keywords: Educational Innovation, Art History, Elementary, Cross-Cultural Learning
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
สมทา ส., & พรมพันธุ์ อ. (2022). การพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 23(1), 93–108. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/13622
Section
บทความวิจัย (Research Articles)