การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา โดยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในทดลอง ได้แก่ นิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการออกแบบและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 29 คน โดยสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่า t-test dependent ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) จุดประสงค์การเรียนรู้ (2) เนื้อหาบทเรียน (3) กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (4) การใช้เทคโนโลยีเครือข่ายสังคมออนไลน์ (5) บทบาทผู้เรียนและผู้สอน และ (6) การวัดประเมินผล และมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของรูปแบบ 7 ขั้นตอน ดังนี้ (1) เรียนเนื้อหาบทเรียน และสะท้อนคิด (2) กำหนดปัญหาหรือเป้าหมาย (3) ระดมสมองแสวงหาแนวคิดใหม่ (4) รวบรวมข้อมูล และสรุปในรูปแบบแผนผังความคิด (5) พินิจร่วมกัน (6) สร้างสรรค์ผลงาน และ (7) นำเสนอและประเมินผลงาน ซึ่งผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ภาพรวมของรูปแบบฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.42 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44 2) กลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกบนเครือข่ายสังคมออนไลน์มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 307.92 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 79.17 และคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ย 535.52 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 65.30คำสำคัญ : การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก, เครือข่ายสังคมออนไลน์, ความคิดสร้างสรรค์ ABSTRACT This research studied were (1) development of active learning model through online social networking to promote creative thinking of undergraduate students and (2) to study the results of using active learning model through online social networking to promote creative thinking of undergraduate students. This experimental research studied 29 undergraduate students from Srinakharinwirot University. The research instruments consisted the suitability assessment of the model. Data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation and t-test dependent. The results were summarized as follows: 1) This model has 6 components: (1) Learning Objectives (2) Learning Contents (3) Active learning activities (4) Use social networks (5) Students’ role and instructor’ role and (6) Assessment. The 7 steps were: (1) Learning the lessons and Reflective learning (2) Determine problems or goal (3) Brainstorming to generating New Ideas (4) Collect data and summarize in the conceptual map (5) Collaborative Considering (6) Create new work and (7) Presenting and evaluating. Evaluation of experts the instruction model has commented model developed in an overview that appropriate at a high level (= 4.42, SD = 0.44). 2) After using this model, the experimental group had posttest creative thinking score (= 535.52, SD = 65.30) higher than pretest creative thinking score (= 307.92, SD = 79.17) significantly at .05 level. Keywords: Active learning, online social networking, creative thinking
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
ไตรรัตน์ น. (2020). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 21(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/13019
Section
บทความวิจัย (Research Articles)