ประสบการณ์ความเป็นธรรมทางสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผ่านการเรียนรู้วรรณกรรม เรื่อง Animal Farm วีดิทัศน์ความเป็นธรรม ทางสังคม และการแสดงบทบาทสมมติ

Main Article Content

นฤมล พึ่งกุศล
ชนัดดา ภูหงษ์ทอง

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ความเป็นธรรมทางสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผ่านการเรียนรู้วรรณกรรม เรื่อง Animal Farm วีดิทัศน์ความเป็นธรรมทางสังคม และการแสดงบทบาทสมมติ  กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 90 คน เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ คือ นักเรียนมีภูมิหลังเกี่ยวกับความเป็นธรรมทางสังคม โดยการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งการบันทึกสะท้อนคิดและการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่  แบบบันทึกสะท้อนคิดหลังเรียน ซึ่งเก็บจากผู้ให้ข้อมูลทั้ง 90 คน และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเก็บจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 คน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การเรียนรู้วรรณกรรมเรื่อง Animal Farm ทำให้นักเรียนเกิดประสบการณ์ความเป็นธรรมทางสังคมในเรื่องการทำงานหนักเพื่อผลผลิตที่มากขึ้น แต่ไม่ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม และการแบ่งชนชั้นระหว่างผู้นำกับผู้ตาม ส่วนการเรียนรู้ จากการชมวีดิทัศน์ความเป็นธรรมทางสังคม นักเรียนสะท้อนเกี่ยวกับเรื่อง การศึกษาระหว่างโรงเรียนในเมืองและนอกเมืองควรมีสิทธิ มาตรฐานความพร้อมด้านต่าง ๆ อย่างเท่าเทียม และการจัดสรรระบบสวัสดิการและการดูแลของรัฐที่ดีจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน  และจากการแสดงบทบาทสมมติ นักเรียนได้สะท้อนถึงประสบการณ์ความเป็นธรรมทางสังคมเกี่ยวกับเรื่อง ความรู้สึกจากการแสดงบทบาทสมมติ  มุมมองเรื่องความเป็นธรรมทางสังคมต่อความเป็นจริงในสังคม ความหมายความเป็นธรรมทางสังคมสำหรับนักเรียน และภาพรวมการจัดการเรียนการสอน เรื่อง ความเป็นธรรมทางสังคมคำสำคัญ : ความเป็นธรรมทางสังคม, วรรณกรรมเรื่อง Animal Farm, การแสดงบทบาทสมมติ  ABSTRACT The objective of this research is to study the experience of grade 10 students’ social justices through learning with a short summary of Animal Farm, social justice videos, and role playing. Participants are ninety grade 10 students; chosen by purposive sampling, selected by specified criteria, the students have a background in social justice, that were collected with the methods: the reflective journal and in-depth interview. Data collection instruments are the reflective journal form, which collected with 90 students, and in-depth interview form, which collected with 12 students, the data were analyzed by using content analysis. The results found that learning with a short summary of Animal Farm effects students’ experiences of social justices, especially in 2 themes: inappropriate wage distribution of workers, and diving the social classes between leaders and followers. In addition, the social justice videos can trigger the students’ social justice experiences about education inequality between rural and urban areas and the arrangements of government about the social welfare system, which impact the quality of life of citizen. Moreover, students reflect about feeling of participating in role playing, perspectives of social justice in Thai society, meaning of social justices, and Overview of teaching and learning about social justice.   Keywords: Social Justices, Short Summary of Animal Farm, Role Playing

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
พึ่งกุศล น., & ภูหงษ์ทอง ช. (2020). ประสบการณ์ความเป็นธรรมทางสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผ่านการเรียนรู้วรรณกรรม เรื่อง Animal Farm วีดิทัศน์ความเป็นธรรม ทางสังคม และการแสดงบทบาทสมมติ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 21(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/12650
Section
บทความวิจัย (Research Articles)