การพัฒนาความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่นในเด็กอนุบาลด้วยหลักการพัฒนาระบบประสาทกระจกเงา การเล่นแบบโกลาหล และลำดับขั้นความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่น

Main Article Content

ประดิพล เครือแก้ว
วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์
ภาคภูมิ บำรุงราชภักดี

Abstract

บทคัดย่อการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่นในเด็กอนุบาลหลังจากที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่นที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแนวคิดการพัฒนาระบบประสาทกระจกเงา การเล่นแบบโกลาหล และลำดับขั้นความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ 11 คน และกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมปกติของครู 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมและแบบทดสอบการเสริมสร้างความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่นในเด็กอนุบาล ดำเนินการทดลอง 9 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที การวิจัยเป็นแบบคัดเลือกแบบสุ่มวัดซ้ำสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง และอำพรางสามฝ่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการทดสอบค่าที (t-test statistics) พบว่า 1) เด็กอนุบาลที่ได้รับโปรแกรมฯ มีความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่นในด้านอารมณ์ ในระยะหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการรู้คิดไม่ต่างกัน 2) ในระยะหลังทดลอง เด็กอนุบาลทั้ง 2 กลุ่ม มีความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่นทั้งด้านอารมณ์ และการรู้คิด ไม่แตกต่างกัน 3) เด็กทั้ง 2 กลุ่ม มีทักษะการเข้าใจในเจตนารมณ์ด้านทักษะทางสังคมและทักษะการรู้คิด ในระยะหลังทดลอง สูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ในระยะหลังทดลอง เด็กอนุบาลกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมมีทักษะความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่นทั้งด้านทักษะสังคมและด้านทักษะการรู้คิด สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับกิจกรรมปกติของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: ความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่น, ระบบประสาทกระจกเงา, เด็กอนุบาล AbstractThe purposes of this research were to study Theory of Mind (ToM) abilities in preschoolers after receiving the preschooler’s Theory of Mind development program through Mirror Neuron System (MNS) development, Rough-and-Tumble play, and Theory of Mind scale development concepts. The samples were 22 preschoolers, which were 48-60 Months old, separated into two groups: the 11 ToM program received group and the 11 teacher’s ordinary activity group. The research instruments were 1) the preschooler’s Theory of Mind development program, and 2) Theory of Mind test. The study was conducted 9 times, 30 minutes a time. The research design was the randomized, Pretest Posttest control group design, and triple-blind. The statistics used for analyzing data was the t-test statistic. The results of this study showed as follows: 1) the ToM program received group had higher ATOM score in post-test than that in pre-test at the statistically significant level of .05, but the CToM score in post-test and pre-test were indifferent;  2) in post-test, the two groups were indifferent in CToM and AToM scores; 3) the two groups had higher ScToM and CsToM scores in the post-test than those in the pre-test at the statistically significant level of .05; and 4) in post-test, the ToM program received group had higher ScToM and CsToM scores than those in the teacher’s ordinary activity group at the statistically significant level of .05. Keywords: Theory of Mind (ToM), Mirror Neuron System (MNS), Preschooler 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เครือแก้ว ป., ทรัพย์วิระปกรณ์ ว., & บำรุงราชภักดี ภ. (2020). การพัฒนาความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่นในเด็กอนุบาลด้วยหลักการพัฒนาระบบประสาทกระจกเงา การเล่นแบบโกลาหล และลำดับขั้นความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่น. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 21(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/12535
Section
บทความวิจัย (Research Articles)