แนวทางปฏิบัติที่ดีของโค้ชในการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพตามต้นแบบ NRRU

Main Article Content

สุวัฒน์ ผาบจันดา

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อการติดตาม ประเมินผล และรายงานผลกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของ 5 โรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมาที่ได้รับเงินอุดหนุนจากคุรุสภา มูลนิธิคีนันแห่งเอเชีย และบริษัท เชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด แนวปฏิบัติที่ดีในการทำหน้าที่โค้ช เรียกว่า NRRU model โดย N คือ Navigator เป็นผู้นำทางชี้แนะความรู้และกระบวนการดำเนินกิจกรรม PLC ส่วน R ตัวแรก คือ Reflector เป็นผู้สะท้อนที่ดีในการให้คำแนะนำในการวิพากษ์แผนการจัดการเรียนรู้ และสะท้อนคิดผลการสังเกตการสอนอย่างสุนทรียสนทนา ส่วน R ตัวที่สอง คือ Relaxer เป็นผู้ที่ให้คำแนะนำช่วยครูผ่อนคลายเกิดบรรยากาศความสุขในการทำงาน และเรียนรู้ สุดท้ายคือ U คือ  Upgrader เป็นผู้ที่ยกระดับการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน และผู้เรียนได้ผ่านการปรับความรู้ของตนเองให้ทันสมัย การเก็บข้อมูลจากทีม PLC จำนวน 35 ทีม ครู 259 คน และนักเรียน 2,376 คน จาก 5 โรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ โรงเรียนประชาสามัคคี โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) โรงเรียนปากช่อง 2 โรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา” และโรงเรียน พงษ์ศิริวิทยา ได้ดำเนินกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม 2562 ผลการสัมภาษณ์และแบบสำรวจความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64) นอกจากนี้ต้นแบบการโค้ชนี้ยังพบว่าช่วยปรับปรุงประสบการณ์การสอน ความร่วมมือภายในโรงเรียน และส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนได้ คำสำคัญ: ชุมชนแห่งการทางวิชาชีพ, คุรุสภา, โค้ชAbstract The purpose of this research is to monitor, evaluate and report the results of community learning activities of the five schools in Nakhon Ratchasima province funded by the Teachers Council of Thailand, Kenan Foundation Asia and Chevron Thailand Exploration and Production Limited. The best practice that could be used as a guideline for coach was “NRRU” model. Where N is a navigator who guides knowledge and process activities for PLCs, the first R is a reflector who reflects and advises learning management plan and results obtained from teaching observations by dialogue, the second R is a relaxer who recommends to help teacher to relax and be happy in working and learning environment, and finally, U is an upgrader who elevates learning management of teachers and learners through modernization of their knowledge. The data were collected from 35 PLC teams, 259 teachers and 2,376 students from 5 schools in Nakhon Ratchasima province, namely Prachasamakkee School, Municipal Five School (Pa Chitta Samakkhi Temple), Pak Chong Two School, Sikhio "Sawat Phadung Witthaya" School and Pongsiri Witthaya School joined the Professional Learning Communities (PLCs) from September to December, 2019. The results of interviews and satisfaction survey forms were rated at a high level (mean = 4.48, S.D. = 0.64). In addition, this coaching model has also been found to improve the overall teaching experience, collaboration within the school and support student achievement. Keyword: Professional Learning Community, Khurusapha, Coach

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ผาบจันดา ส. (2020). แนวทางปฏิบัติที่ดีของโค้ชในการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพตามต้นแบบ NRRU. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 21(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/12484
Section
บทความวิจัย (Research Articles)