การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้สุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม

Main Article Content

อัจฉรา ปุราคม
สบสันต์ มหานิยม
สุพรทิพย์ พูพะเหนียด
ทัศนีย์ จันธิยะ
สุภิญญา ปัญญาสีห์
นิตยา แสงชื่น
สุดารัตน์ วัดปลั่ง

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้สุขภาพองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุ และ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพหลักสูตรการเรียนรู้สุขภาพแบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุ ขั้นตอนการวิจัยในการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหลักสูตร  4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การกำหนดข้อมูลพื้นฐาน การออกแบบหลักสูตร การทดลองใช้และการหาประสิทธิภาพของหลักสูตร และการประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนศึกษาอบรมในหลักสูตรสุขภาพ             แบบองค์รวมจำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินการออกแบบกิจกรรม แบบประเมินสุขภาพจิต แบบประเมินภาวะสมองเสื่อมด้วยตนเอง แบบประเมินสมรรถภาพ        การทำหน้าที่ทางกาย แบบวัดความรู้และทักษะ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อหลักสูตร ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรการเรียนรู้สุขภาพแบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้ 7 กลุ่มสาระ คือ กิจกรรมทางกาย นันทนาการและการท่องเที่ยว ทักษะอาชีพในยามว่าง เกษตรเพื่อสุขภาพ การสื่อสาร ภาษา และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร การบริหารสมอง และศิลปะ-วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยคุณภาพของหลักสูตรจากการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน  5 ท่าน พบว่า หลักสูตรมีความตรงเชิงเนื้อหา และมีความเหมาะสมประสิทธิภาพของหลักสูตรการเรียนรู้สุขภาพแบบองค์รวม พบว่า กลุ่มตัวอย่าง หลังการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ 12 สัปดาห์ มีความรู้และทักษะการจัดกิจกรรมหลังการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ สมรรถภาพการทำหน้าที่ทางกายของผู้สูงอายุ ภาวะสุขภาพจิตและสมอง ความจำดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดหลักสูตรการเรียนรู้สุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับดี และมีค่าดัชนีความสอดคล้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คำสำคัญ: สุขภาพแบบองค์รวม, หลักสูตรการเรียนรู้, ผู้สูงอายุ ABSTRACT The objective of study was to develop holistic health (HH) learning curriculum for older adults and investigate the effectiveness of the health learning curriculum for older adults. The 4 step processes of research started from identified database, designed curriculum, and demonstrated within 12 weeks as well as investigated an effectiveness of the curriculum. The sample consisted of 30 older adults who registered in holistic health learning program were recruited by purposive sampling. The instrument included interviewing, designed activities evaluation, metal health questionnaire, self – assessment dementia test questionnaire , holistic health knowledge and skill test questionnaire, opinion satisfaction toward curriculum and senior functional fitness test as well as physical activity level questionnaire. The results as follow; 1. Holistic health learning curriculum for older adults were consisted of 7 course syllabus ,namely; learning physical activity, recreation and tourism, occupational practicing skills in leisure time, health agriculture, communication language & technology, neurobic exercise and art cultural as well as local wisdom, which had been accessed by 5 expertise. It found that holistic health learning curriculum had high validity and was appropriated. 2. After 12th weeks, older adults gained higher mental health, good memory, knowledge and skill and had senior fitness better than before participating significantly (P<.05).  Also their satisfied toward curriculum were at high level of which relevance to the criteria. Keywords: Holistic Health Curriculum, Older Adults

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ปุราคม อ., มหานิยม ส., พูพะเหนียด ส., จันธิยะ ท., ปัญญาสีห์ ส., แสงชื่น น., & วัดปลั่ง ส. (2019). การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้สุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 20(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/11849
Section
บทความวิจัย (Research Articles)