การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้ ด้วยตนเองของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

เสกสรร มาตวังแสง

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของเด็กปฐมวัยโดยทำการสร้างรูปแบบ  ศึกษาประสิทธิผลรูปแบบ  และขยายผลรูปแบบ โดยดำเนินการวิจัยสี่ระยะ  คือ  ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของเด็กปฐมวัยระยะที่  2  การสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของเด็กปฐมวัยระยะที่  3  การศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของเด็กปฐมวัย  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 4 – 5  ปีซึ่งกำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย  (Simple  Random  Sampling) จำนวน 25 คนระยะที่ 4 การขยายผลรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นครูปฐมวัยที่ปฏิบัติการสอนอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  จังหวัดชลบุรี จำนวน 8 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้  1) ผลการสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของเด็กปฐมวัยประกอบด้วย ขั้นกระตุ้นการเรียนรู้ (Stimulate: S) ขั้นสำรวจสิ่งที่เรียนรู้ (Explore: E) ขั้นปฏิบัติการเรียนรู้ (Active learning: A) ขั้นสะท้อนการเรียนรู้ (Reflection: R) 2) ผลการศึกษาประสิทธิผลรูปแบบ พบว่า คะแนนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยรวมและรายด้าน และ 3) ผลการขยายผลรูปแบบ พบว่าครูปฐมวัยมีความคิดเห็นต่อรูปแบบ อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด คำสำคัญ : การพัฒนา  รูปแบบการจัดประสบการณ์ทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองเด็กปฐมวัย ABSTRACT The purpose of this research were to development of  learning experiences model for promoting inquiry skills of early childhood children, to develop model, and investigate the efficiency of the model and Implementation model. This research consisted of four phases as follows: Phase I: Studying and analysing inquiry skills of early childhood children.  Phase II: Developing learning experiences model for promoting inquiry skills of early childhood children. Phase III: The efficiency of learning experiences model for promoting inquiry skills of early childhood children.  The sample used in the study was early childhood children, with an 4-5 years age of, who were studying in second year kindergarten in Watnernsutthawas Municipality School in second semester of the 2017 academic year children were selected by Simple random sampling. Phase IV: Implementation of learning experiences model for promoting inquiry skills of early childhood children. The sample used in the kindergartener in schools under the jurisdiction of Chonburi Local Administrative Organization of 8 teacher were selected by purposive sampling. The research results were summarized as follows: 1) The learning experiences model for promoting inquiry skills of early childhood children consisted of stages of Stimulate (S), Explore (E), Active learning (A), and Reflection (R). 2) According to the results of learning experiences model for promoting inquiry skills of early childhood children, the posttest scores after experiment were higher than those of before experiment, with statistical significance at the level of 0.05 both in general and in individual areas, 3) The teachers who had used the learning experiences model evaluated the utilization appropriateness of the model at the highest  level   Keywords :     Development, Learning Experiences Model,  Inquiry Skills,  Early Childhood Children

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
มาตวังแสง เ. (2018). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้ ด้วยตนเองของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/11714
Section
บทความวิจัย (Research Articles)