สถานเลี้ยงเด็กเพื่อการเข้าถึงการศึกษาก่อนวัยเรียน อย่างเท่าเทียมและทั่วถึงในบริบทสังคมเมือง

Main Article Content

จงจิตต์ ฤทธิรงค์
สุภรต์ จรัสสิทธิ์

Abstract

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาความสอดคล้องของความต้องการของผู้ใช้บริการและการให้บริการสถานเลี้ยงเด็กและศูนย์การศึกษาก่อนวัยเรียนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ สำรวจด้วยแบบสอบถามจากพ่อแม่และผู้ปกครองจำนวน 407 ราย ของเด็กอายุตั้งแต่แรกเกิด-6 ปี ที่ใช้บริการสถานเลี้ยงเด็กเอกชนและสถานเลี้ยงเด็กภายใต้หน่วยงานของรัฐ เหตุผลหลักที่ผู้ปกครองใช้บริการสถานเลี้ยงเด็กคือ ต้องการให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีตามวัย (ร้อยละ 84.8)  ผู้ปกครองส่วนมากตัดสินใจเลือกสถานเลี้ยงเด็กจากสถานที่ตั้งและการเดินทาง ผู้ปกครองส่วนมากต้องการสถานเลี้ยงเด็กใกล้บ้าน (ร้อยละ 33.4) บางส่วนต้องการสถานเลี้ยงเด็กใกล้ที่ทำงาน (ร้อยละ 17.4) ร้อยละ 17 ของผู้ที่ต้องการสถานเลี้ยงเด็กใกล้บ้าน และ ร้อยละ 35 ของผู้ที่ต้องการสถานเลี้ยงเด็กใกล้ที่ทำงาน ระบุว่าไม่สามารถหาสถานเลี้ยงเด็กได้อย่างที่ต้องการ อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยพิกัดสถานที่ตั้งเชิงภูมิศาสตร์ของสถานเลี้ยงเด็กจำนวน 501 แห่ง พบว่าพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตรรอบสถานเลี้ยงเด็กครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ เกือบทั้งหมด จึงสรุปได้ว่ากรุงเทพฯ มีสถานเลี้ยงเด็กกระจายทั่วพื้นที่ แต่คุณภาพและบริการไม่สอดคล้องกับความต้องการของพ่อแม่และผู้ปกครอง หรือมีคุณภาพดีแต่อัตราค่าบริการสูง ดังนั้นจึงเกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสถานเลี้ยงเด็ก คำสำคัญ : ศูนย์การศึกษาก่อนวัยเรียน สถานเลี้ยงเด็ก การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ ABSTRACT This study aims to investigate the satisfaction among parents using childcare services in Bangkok and vicinity. Research methodology includes quantitative method and spatial analysis. The questionnaire survey among 407 parents having children from birth to six years old using services in public or private childcare reveals that most parents used childcare because it enhanced proper child development (84.8%). To select a childcare, most parents considered location and transportation. Most parents preferred childcare close to their home (33.4%), while some parents preferred childcare close to their workplace (17.4%). In addition, about 17% of those who preferred childcare close to their home and 35% of those who preferred childcare close to their workplace could not find a childcare. However, spatial analysis reveals that 5-kilometer radius around 501 childcares covered most of Bangkok area. In conclusion, despite the fact that Bangkok has a large number of both public and private childcare facilities, the unmatched quality and high rate of service charges of the childcare could be reasons of inequality and inaccessibility.   Keywords :     Pre-school, Childcare, Spatial Analysis

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ฤทธิรงค์ จ., & จรัสสิทธิ์ ส. (2018). สถานเลี้ยงเด็กเพื่อการเข้าถึงการศึกษาก่อนวัยเรียน อย่างเท่าเทียมและทั่วถึงในบริบทสังคมเมือง. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/11706
Section
บทความวิจัย (Research Articles)