ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ส่วนบุคคลบนพื้นฐานการเล่นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสะท้อนผลการปฏิบัติภาระงาน

Main Article Content

ปริญา ปริพุฒ
ธูปทอง กว้างสวาสดิ์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ส่วนบุคคลบนพื้นฐานการเล่นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสะท้อนผลการปฏิบัติภาระงาน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพัฒนาการของการสะท้อนผลการปฏิบัติภาระงานของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ส่วนบุคคลบนพื้นฐานการเล่น         กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนนิคมลำปาววิทยา  จำนวน  7  คน  ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จากประชากร  จำนวน  187  คน ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสม ได้แก่ ข้อมูลเชิงปริมาณเก็บรวบรวมโดยการตอบคำถามแล้วให้คะแนนตามเกณฑ์  และข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บรวมรวมโดยการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมในการปฏิบัติภาระงานแต่ละครั้ง  ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาในการเล่นสืบสวนของนักเรียนแต่ละคน  จำนวน  3  ครั้งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าความถี่ ค่าร้อยละและสถิติทดสอบ Friedman Test  ผลการวิจัย  พบว่า  นักเรียนแต่ละคนมีการสะท้อนผลการปฏิบัติภาระงานในแต่ละครั้งเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ  50.00 เป็นร้อยละ 72.88 และร้อยละ 77.13 ตามลำดับ และนักเรียนมีพัฒนาการของการสะท้อนผลการปฏิบัติภาระงานสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลการสังเกตพฤติกรรม  พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ตอบคำถามเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การปฏิบัติภาระงานไม่ประสบความสำเร็จและตอบคำถามเกี่ยวกับกลวิธีที่ใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติภาระงานของตนเอง พร้อมทั้งตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และประโยชน์จากการปฏิบัติภาระงานได้ชัดเจน ตรงประเด็น  และให้เหตุผลประกอบด้วย คำสำคัญ : รูปแบบการเรียนรู้  การเรียนรู้ส่วนบุคคลบนพื้นฐานการเล่น  การสะท้อนผลการปฏิบัติภาระงาน ABSTRACT This research aimed to examine and compare the use of play-based personalized learning model to enhance performance task reflection. Samples used in this study were seven students in grade one selected through purposive sampling. The researchers used mixed method to collect data. Quantitative data were collected through answering questions related to the task performance. To define the quality of answering questions, the researchers used scoring rubrics.  Qualitative data were collected through observation of each student’s performance task reflection. Statistics used to analyzed data were frequency and percent. A non-parametric Friedman test of differences among repeated measures was conducted to determine a statistical difference between three measurements.  The results of the research were as follows: The results of assessment of each student’s performance task reflection were at 50.00 percent, 72.88 percent and 77.13 percent for the first, second and third time respectively. The use of Friedman test to compare three times of the performance task reflection found that in the overall there was a significant difference at a level of .05. The observation of each student’s behavior found that they could answer the questions related to the problems that they encountered during the task performance and they could describe how to solve those problems.   Keywords :      Learning model, Play-based personalized learning, Performance task reflection

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ปริพุฒ ป., & กว้างสวาสดิ์ ธ. (2018). ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ส่วนบุคคลบนพื้นฐานการเล่นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสะท้อนผลการปฏิบัติภาระงาน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/10377
Section
บทความวิจัย (Research Articles)