อัตลักษณ์ชากังราวจากเมืองประวัติศาสตร์สู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (IDENTITY OF CHAKANGRAO FROM AN ANCIENT CITY TO CREATIVE TOURISM DEVELOPMENT)

Authors

  • Suprapa Somnuxpong Department of Tourism, Faculty of Humanities, Chiang Mai University

Abstract

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ทำการศึกษาอัตลักษณ์ของเมืองชากังราวที่เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่สำคัญและแนวทางในการนำอัตลักษณ์ของเมืองชากังราวเพื่อใช้ในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สำหรับจังหวัดกำแพงเพชรในปัจจุบันโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งในการศึกษาจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ด้านอัตลักษณ์และด้านจัดการด้านการท่องเที่ยว ด้านวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อทำให้ทราบถึงอัตลักษณ์ของเมืองโบราณใน 3 ด้าน คือ อัตลักษณ์ด้านสังคมและชุมชน อัตลักษณ์ด้านประวัติศาสตร์ และอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมของเมืองโบราณ 5 เมือง คือ เมืองโกสัมพี เมืองไตรตรึงษ์ เมืองคณฑี เมืองบางพาน และเมืองเทพนคร เนื่องจากในแต่ละเมืองจะมีบริบทอัตลักษณ์ของเมือง และวิถีชีวิตของชุมชนด้านมรดกทางวัฒนธรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และสร้างเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวตลอดทั้งปี ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนและเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเมืองโบราณ ทั้งยังเป็นเครื่องมือในการรักษาความสมดุลระหว่างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวภายในชุมชนกับผลประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ ด้านข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจด้านการดึงดูดใจเกี่ยวกับวัดและโบราณสถานด้านวัฒนธรรมและกิจกรรมของชุมชน สิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและอื่นๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะมาเที่ยวชมเมืองโบราณทั้ง 5 ในระดับปานกลาง ด้านที่พักภายในจังหวัดกำแพงเพชรมีจำนวนค่อนข้างมากและราคาไม่สูงมากนัก มีความเหมาะสม สะอาดปลอดภัย ด้านความสนใจต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ นักท่องเที่ยวจะให้ความสนใจเส้นทางเมือง คณฑีเป็นอันดับแรก รองมาเป็นเส้นทางเมืองไตรตรึงษ์ เมืองบางพาน เมืองเทพนคร และเมืองโกสัมพีตามลำดับ     ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อดึงดูดใจนักท่องเที่ยวมาเที่ยวในจังหวัดกำแพงเพชรตลอดทั้งปีต่อไป คำสำคัญ อัตลักษณ์ ชากังราว เมืองประวัติศาสตร์  การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Abstract This research was to study on the identity of Chakangrao, an ancient historic town, and then developed to be a creative tourism in Kamphaeng Phet province by employing both qualitative and quantitative research method. The scope of the study was divided to two parts, which were the identity and the management of tourism. In term of the qualitative information, the identity of the ancient cities was indicated to 3 issues: social and community identity, history and cultural identity of the 5 ancient cities. These 5 cities were Kosamphi city, Trai Trueng city, Khontee city, Bang Phan city and Thepnakorn city. Each of these cities was studied in the context of the city's identity and the way of life of people in the community in term of the cultural heritage. All the tourists had chance to learn on the routine life of the local people and can be developed to be a creative tourism activity for the whole year, which can promote the participation between the tourists and the native people in the community and the tourism in the area. This kind of tourism can also induce the local to participate with the tourists in order to do the creative activities to promote the tourism in the ancient city. This way can also be employed as tool to balance between the change in the community caused by the tourism and the benefit gained. In term of the quantitative data, it was found that most of the tourists were convinced by visiting the ancient temples and places, including cultural and community activities. However, facilities and transportation to visit these 5 ancient cities are just moderate, though there are many low price accommodations in the area that are safe, clean and suitable to stay. For the initiative tourism program, the tourists are most interested in Khontee city, then Trai Trueng city, Bang Phan city, Thepnakorn city and Kosamphi city respectively. The data obtained in this research can lead to the development of the creative tourism, in order to convince the tourists to visit there for the whole year. Keywords: Identity, Chakangrao, Historic town, Creative tourism development

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

12-11-2017

How to Cite

Somnuxpong, S. (2017). อัตลักษณ์ชากังราวจากเมืองประวัติศาสตร์สู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (IDENTITY OF CHAKANGRAO FROM AN ANCIENT CITY TO CREATIVE TOURISM DEVELOPMENT). วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ: Srinakharinwirot Business Journal, 8(2), 140–154. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/9414