ค่านิยม และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนในประเทศไทยกรณีศึกษา: เขื่อนรัชชประภา อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานีและเขื่อนศรีนครินทร์ อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี (TOURISTS’ VALUES AND BEHAVIORS TOWARDS DAM DESTINATIONS...)
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง ค่านิยมและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนในประเทศไทย กรณีศึกษา: เขื่อนรัชชประภา อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเขื่อนศรีนครินทร์ อุทยานแห่งชาติเขื่อน ศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนในประเทศไทย โดยการสำรวจค่านิยม ความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาด พฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนในประเทศไทย เพื่อใช้ข้อมูลเป็นแนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนในประเทศไทย โดยการใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณได้ทำการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น ได้แก่ วิธีการสุ่มแบบเจาะจง กล่าวคือเจาะจง 2 แหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวในเขื่อนรัชชประภา อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานีและเขื่อนศรีนครินทร์ อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากมีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางมาท่องเที่ยวสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 ของประเทศ โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวบริเวณในเขื่อนรัชชประภา อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเขื่อนศรีนครินทร์ อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี ในการแจกแบบสอบถามแก่นักท่องเที่ยวชาวไทยภายหลังจากท่องเที่ยว จนครบจำนวนแห่งละ 400 คน รวมทั้งสิ้น 800 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพได้สัมภาษณ์ตัวแทนภาครัฐ และภาคผู้ประกอบการ รวมทั้งสิ้น 20 คน จากผลการวิจัย พบว่า ค่านิยมทางการท่องเที่ยวเขื่อนด้านค่านิยมทางเศรษฐกิจ และส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยวด้านจุดยืนผลิตภัณฑ์และด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านบุคลากรทาง การท่องเที่ยว และด้านกระบวนการให้บริการ ส่งผลกระทบทางบวกต่อพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมนักท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนในประเทศไทย ด้านความคาดหวังในการเดินทางมาท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถอธิบายได้ร้อยละ 20 และ 7 ตามลำดับ แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบริเวณในเขื่อนประเทศไทย ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในท้องถิ่น ควรร่วมกันพัฒนาในด้านการวางแผนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยการรวมกลุ่มกันแต่ละชุมชนในการประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็น การระดมความคิดในการพัฒนาชุมชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การจัดทำปฏิทินแนะนำการท่องเที่ยวประจำพื้นที่ ความต้องการส่งเสริมทางการตลาด การจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้า แผ่นพับ โบรชัวร์ วารสารประจำแหล่งท่องเที่ยวเขื่อน โดยให้ทางหน่วยงานรัฐบาลและหน่วยงานเอกชนเป็นสื่อกลางในการเป็นผู้ติดต่อประสานงาน ด้านการพัฒนาสาธารณูปโภคควรมีการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ถนน ประปา ระบบไฟฟ้า เพื่อความพร้อมสำหรับให้บริการกับนักท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมควรมีการควบคุมทรัพยากรในแหล่งพื้นที่ให้มีการใช้ประโยชน์ตามความจำเป็น ด้านการพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนในประเทศไทย การฝึกอบรม การสาธิต บรรยายให้ความรู้กับประชาชนในชุมชนให้สามารถมีการประกอบอาชีพในแหล่งพื้นที่ของตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป คำสำคัญ: การท่องเที่ยว ค่านิยม พฤติกรรม เขื่อนในประเทศไทย Abstract The research on Tourists’ Values and Behaviors towards Dam Destinations in Thailand Case Study: Ratchaprapha Dam in Khao Sok National Park, Surat Thani Province and Srinakarin Dam in Kheaun Sri Nakarin National Park, Kanchanaburi Province is aimed at studying approaches for developing dam tourism in Thailand by carrying out surveys on values, opinions towards marketing mix, tourist behaviors and behavioral tendency of dam tourism in Thailand. In order, to use the factors influenced from dam tourism behaviors and behavioral tendency in Thailand to manage for developing dam tourism in Thailand. Mix-method, which are quantitative and qualitative method were used in this research. In quantitative method researcher collects data by using Non-probability sampling such as purposive sampling which mean, specified in 2 tourism destinations which are Ratchaprapha Dam in Khao Sok National Park, Surat Thani Province and Srinakarin Dam in Kheaun Sri Nakarin National Park, Kanchanaburi Province. Hence, they are ranked as the first and second places of Thai tourism destinations. By convenience sampling, the data collection was done by tourisms in Ratchaprapha Dam in Khao Sok National Park, Surat Thani Province and Srinakarin Dam in Kheaun Sri Nakarin National Park, Kanchanaburi Province. Questionnaires was distributed to 400 Thai tourists after the stayed at each dams. The summarization of both places are 800 persons. Statistics which was used to analyses data in this research are such as percentage, mean, standard deviation, differential analysis by using t-test, one way ANOVA, stepwise multiple regression analysis. In qualitative method, researcher uses depth-interview by interview 20 persons of government agents and entrepreneurs. From the research is found that tourism values in dam tourism economic, & tourism marketing mix in product stand and in product, price, tourism personnel and servicing process positive affect behavior and trend of tourist behavior in dam area in Thailand and an expectations to travel to the dam in Thailand with a statistically significant level of 0.01. Can be determined by 20.00% and 7.00% respectively. For approaches of dam tourism management in Thailand, public and private sectors and local residents should cooperate in developing in planning to develop tourism attractions by grouping each community in a meeting for comments. Same direction brainstorming for community development such as making a travel calendar for suggesting each tourism area, marketing promotion, establishment a dam distribution center for products, flyers, brochures, magazine by providing government agencies or private agencies as a liaison to cooperate all tasks. In order to be ready to service tourisms, infrastructure development should include the development of basic infrastructure facilities in tourist destinations such as road, water supply, electricity. For environmental development resources should be controlled in each tourism area and make use of it as necessary. For human resources development, Dam tourism authority of Thailand should organize workshops, demonstration and educate people in the community to be able work and have a sustainable career in their own area in the future. Keywords: Tourism, Values, Behaviors, Dams in ThailandDownloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ