การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยปฏิบัติการเสมือนเรื่อง สารละลายกรดและเบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
Abstract
Surujira Boonlert and Mayuso Kuno
รับบทความ: 5 มีนาคม 2557; ยอมรับตีพิมพ์: 25 พฤษภาคม 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทดลองฉบับนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนกับหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยบทปฏิบัติการทดลองเสมือนจริงเรื่อง สารละลายกรดและเบส และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทปฏิบัติการทดลองเสมือนจริง เรื่อง สารละลายกรดและเบส โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 40 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนอำนาจเจริญ ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง และใช้แผนการวิจัยแบบ one group pretest–posttest design โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยบทปฏิบัติการทดลองเสมือนจริง เรื่อง สารละลายกรดและเบส ซึ่งพัฒนาด้วยโปรแกรม Yenka Science (chemistry) แผนการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ t–test for dependent samples ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยบทปฏิบัติการทดลองเสมือนจริง เรื่อง สารละลายกรดและเบส มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจมากต่อบทปฏิบัติการทดลองเสมือนจริง เรื่อง สารละลายกรดและเบส (mean = 4.24, SD = 0.83)
คำสำคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจ บทปฏิบัติการทดลองเสมือนจริง สารละลายกรดและเบส
Abstract
The purposes of this experimental research were to compare a learning achievement before and after using virtual laboratory for acid-base solution for Mathayomsuksa I students and to study the satisfaction of students with learning through virtual laboratory for acid-base solution. The samples were 40 Mathayomsuksa I students in the 1st semester, academic year 2013 at Amnatcharoen school. They were acquired by purposive sampling. The experimental design is one group pretest–posttest design. The instruments used in this research were virtual laboratory for acid-base solution developed by using Yenka Science (Chemistry) program, lesson plans, worksheet, achievement test, and satisfaction questionnaire. The data were analyzed by using t–test for dependent samples, mean and standard deviation. The finding showed that the average posttest achievement scores was statistically higher than the average pretest score at significant level of .05, and satisfaction of student after using the virtual laboratory for acid-base solution was at high level (mean = 4.24, SD = 0.83).
Keywords: Learning Achievement, Satisfaction, Virtual Laboratory, Efficiency, Acid-base solution
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กรมวิชาการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
บริษัท เอเชี่ยน ไอ.ที.จำกัด. (ม.ป.ป.). คู่มือการใช้โปรแกรม Yenka Science (Chemistry). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ผู้จัดการออนไลน์. (2556). การศึกษา. สืบค้นจาก http:// manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000007886 เมื่อ 29 เมษายน 2557.
พจนันท์ สุริรักษ์. (2548). การพัฒนาสื่อการเรียนอิเล็ก-ทรอนิกส์ วิชายางธรรมชาติในรูปแบบห้องเรียนเสมือนจริง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี.
ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์. (2551). ห้องปฏิบัติการเสมือนจริงบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต: นวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 3(1): 96-105.
ศุภางค์ ไทยสมบูรณ์สุข. (2547). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ แบบร่วมกลุ่มเรื่องการบริหารโครงการในห้องเรียนเสมือนจริง สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
อรรถศาสตร์ เวียงสงค์. (2553). การพัฒนาสื่อความเป็นจริงเสมือนเพื่อการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Johnstone, A. H. (1993). The development of chemistry teaching: A changing response to a changing demand. Journal of Chemical Education. 70(9): 701-705.
Mattheos N, Nattestad A, Schittek M, an
d Attström R. (2001). A virtual classroom for undergraduate periodontology: A pilot study. European Journal of Dental Education. 5(4): 139–147.
Phornphisutthimas, S., Panijpan, B., Wood, E. J., and Booth, A. G. (2007). Improving Thai students’ understanding of concepts in protein purification by using Thai and English versions of a simulation program. Biochemistry and Molecular Biology Education 35(5): 316-321.