ความสำเร็จของการจัดโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษาในรูปแบบค่ายเยาวชนรักษ์น้ำท้องถิ่นสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา

Main Article Content

สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ
สุภาภรณ์ ศิริโสภณา
สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ
โพธิธรณ์ ครรชิตานุรักษ์
วิชิตพล มีแก้ว
ชียศาสตร์ คเชนทร์สุวรรณ
วันทนี ทาทอง

Abstract

The Success of Environmental Education Programme Using “The Water Conservation Youth Camp” for Secondary StudentsSurasak Laloknam,Supaporn Sirisopana, Somkiat  Phornphisutthimas, Potitorn Kanchitanurak, Wichitpol Meekaew, Chaiyasard Kachensuwan and Wantanee Tatongรับบทความ: 9 สิงหาคม 2556; ยอมรับตีพิมพ์: 2 ธันวาคม 2556DOI: https://doi.org/10.14456/jstel.2013.20 บทคัดย่อค่ายเยาวชนรักษ์น้ำท้องถิ่น พัฒนามาจากโครงการวิจัยโครงการชุด “โปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา” เรื่อง การตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในท้องถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการจัดค่ายเยาวชนรักษ์น้ำท้องถิ่น จำนวน 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 และ 3 จัดขึ้นที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ครั้งที่ 1 เป็นการศึกษาผลการใช้โปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา ครั้งที่ 2 เป็นการนำโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษามาบูรณาการกับการเรียนการสอน และครั้งที่ 3 เป็นการนำตัวแทนเยาวชนที่ผ่านค่ายเยาวชนรักษ์น้ำท้องถิ่น ครั้งที่ 1 และ 2 มาร่วมเป็นผู้ช่วยวิทยากร และมีการขยายเพิ่มกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ชุดกิจกรรมตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น แบบประเมินโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา “ค่ายเยาวชนรักษ์น้ำท้องถิ่น” ที่มีรายการประเมิน 5 ด้าน ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก เจตคติ ทักษะ และการมีส่วนร่วม และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจากโรงเรียนเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในจังหวัดนครนายก ได้แก่ โรงเรียนภัทรพิทยาจารย์ โรงเรียนปิยชาติพัฒนา และโรงเรียนปากพลีวิทยาคาร และโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ คือ โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม พบว่า รายการประเมินโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา “ค่ายเยาวชนรักษ์น้ำท้องถิ่น” ที่มีรายการประเมิน 5 ด้านหลังการเข้าร่วมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมค่ายเยาวชนรักษ์น้ำท้องถิ่นทุกครั้งและทุกรายการประเมิน และเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนรักษ์น้ำท้องถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุดคำสำคัญ: โปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา  การประเมินผลโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา ค่ายเยาวชนรักษ์น้ำท้องถิ่น AbstractThe Water Conservation Youth (WCY) camp was developed from a series of project “Environmental Education Programme”, on the topic of preliminary water quality assessment for secondary students at the local country at Chiangmai. The WCY camps were performed three times: the first at Omkoi district, Chiangmai, the second and third at Ongkarak, Nakorn Nayok.  The 1st WCY camp was studied on the effects of environmental education programme on students at Omkoi, Chiangmai. The 2nd WCY camp was integrated with the learning and teaching process, and the 3rd WYP camp was developed using youths who had joined the 1st and 2nd WCY camps as assistant trainers.  The 3rd WCY camp was also extended senior secondary student groups to join the camp.  The study was performed through 3 instruments were: 1) an activity package of preliminary water quality test, students’ achievement worksheet, composed of knowledge, awareness, skill, attitude and participation; and 3) attitude towards the joining of the camps. The subjects were students from Pattarapithayajarn School, Piyachartpatana School and Pakpleewittaya School at Nakorn Nayok as well as Omkoi Wittayakom School at Chiangmai. After joining the WYP camp, students gave higher 5-item assess-ment scores than those before joining the camp. The youths who joined with the camp gave the highest satisfaction level of the camp participation.Keywords: Environmental education programme, Assessment of environmental education programme, Saving the water youth camp

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)
Author Biography

สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ

ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป และหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วัฒนา กรุงเทพฯ 10110

References

เกษม จันทร์แก้ว. (2536). สิ่งแวดล้อมศึกษา. กรุงเทพฯ: อักษรสยามการพิมพ์.

เกษม จันทร์แก้ว. (2544). วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป. (2553). หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (5 ปี) ฉบับปรับปรุงปีการศึกษา 2554. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภาภรณ์ ศิริโสภณา และสุรศักดิ์ ละลอกน้ำ. (2555ก). โปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษาเรื่องการตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สินทวีกิจ พริ้นติ้ง.

สุภาภรณ์ ศิริโสภณา และสุรศักดิ์ ละลอกน้ำ. (2555ข). การศึกษาผลของการใช้โปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในท้องถิ่นด้วยการจัดค่ายเยาวชนรักษ์น้ำท้องถิ่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวด-ล้อมเพื่อการเรียนรู้ 3(1): 9–22.

สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ และสุภาภรณ์ ศิริโสภณา. (2554). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในท้องถิ่น ด้วยการใช้ชุดกิจกรรมตรวจสอบคุณ-ภาพน้ำเบื้องต้น. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 2(2): 119–131.

คณะวิทยาศาสตร์ มศว. (2555). รายงานการประกันคุณ-ภาพการศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2554. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ มศว.

คณะวิทยาศาสตร์ มศว. (2556). รายงานผลการดำเนินโครงการค่ายเยาวชนรักษ์น้ำท้องถิ่น ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ มศว.

Most read articles by the same author(s)

> >>