การวิเคราะห์สภาพปัญหา ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ในการผลิตครูของประเทศไทย

Main Article Content

รุ่งทิวา แย้มรุ่ง
นฤมล ศิระวงษ์
ดวงใจ สีเขียว
อรอุมา เจริญสุข
ศุภวรรณ สัจจพิบูล
วันเพ็ญ ประทุมทอง
วิลาวัลย์ ด่านสิริสุข

Abstract

บทคัดย่องานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสภาพปัญหาของระบบการผลิตครูของประเทศไทยจำแนกตามประเภทของสถาบันอุดมศึกษา และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมและที่เป็นอุปสรรคในการผลิตครูของประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ คณบดีหรือรองคณบดีฝ่ายวิชาการ และคณาจารย์ สังกัดคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยทุกสังกัด 5 ภูมิภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภาคกลางและภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 1) การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่ม ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น           83 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง พิจารณาจากการเป็นผู้มีคุณวุฒิหรือเป็นผู้รับผิดชอบด้านนโยบายการ ผลิตครู และ 2) การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 81 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นแบบไม่อิงสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และแบบบันทึกข้อมูล สำหรับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ และใช้แบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีลักษณะการตอบเป็นแบบตอบสนองคู่ (Dual-response format) จำนวน 50 ข้อ สำหรับการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNIModified) และใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาในการผลิตครูของประเทศไทยในปัจจุบัน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสภาพจริงในปัจจุบันเกี่ยวกับระบบการผลิตครูอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยในแต่ละด้านมีค่าเฉลี่ย   ความคิดเห็นใกล้เคียงกัน (มีค่าอยู่ระหว่าง 2.55 - 2.96 จากคะแนนเต็ม 4) และพบว่าความต้องการจำเป็นด้านการกำหนดนโยบายและการจัดหลักสูตร มีค่ามากเป็นอันดับ 1 (PNIModified = 0.41) รองลงมาได้แก่ ด้านการทบทวนผลการผลิตบัณฑิต ด้านการติดตามและการควบคุมคุณภาพบัณฑิตและด้านกระบวนการผลิต ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสภาพปัญหาในการผลิตครูของประเทศไทยในปัจจุบัน จำแนกตามประเภทของสถาบันอุดมศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละประเภทของสถาบันอุดมศึกษามีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบัน/ปัญหาของระบบการผลิตครูทุกด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ      1. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมต่อความสำเร็จในการผลิตครูในประเทศไทย พบว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมต่อความสำเร็จในการผลิตครูในประเทศไทย ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (  = 3.12, S.D. = 0.84) โดยปัจจัยที่ส่งเสริมต่อความสำเร็จในการผลิตครูในประเทศไทยด้านมาตรฐานวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนปัจจัยด้านมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาด้านการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรและด้านนโยบายภาครัฐ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการผลิตครูในประเทศไทยพบว่า ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการผลิตครูในประเทศไทย ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (  = 2.91, S.D. = 0.81) โดยปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการผลิตครูในประเทศไทย ด้านมาตรฐานวิชาชีพ ด้านมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาด้านการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร และด้านนโยบายภาครัฐ               มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้านคำสำคัญ : สภาพปัญหาการผลิตครู ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ความสำเร็จในการผลิตครูของประเทศไทย ABSTRACT This research aimed at comparing the problems of pre-service teachereducation system by the types of higer education institutions and examining facilitating and restraining factors of pre-service teacher education in Thailand. The subjects of the study were categorized into 2 groups: 1) 83 deans or associate deans of academic affairs, and lecturers of Faculty of Education of all types of universitiesin the 5 geographical regionsin Thailand including Bangkok, Middle and Eastern, Northern, Northeastern, and Southern parts of Thailand, selected by purposive sampling, 2) 81 deans or associate deans of academic affairs, and lecturers of Faculty of Education of all types of universities in the 5 geographical regions in Thailand including Bangkok, Middle and Eastern, Eastern, Northeastern, and Southern regions, selected by stratified random sampling. The measures of the study included interviewforms, questionnaires, and record forms. IOC was used to evaluate the quality of the measures. The data were analyzed using descriptive statistics (i.e., percentage, mean, standard deviation), inferential statistics (i.e., t-test and One-way ANOVA), Modified Priory Need Index (PNIModified), and content analysis. The research found that: 1)    On current problems of teacher training in Thailand, it was found that the responders of the questionnaires gave equally high scores on the current practices on all of the examined areas. The needs in the area of policy, curriculum, and institution, the number or pre-service teachers (closed system) were the highest, followed by the area of implementation evaluation in order to improve pre-service teacher education, the area of monitoring and controlling the characteristics of pre-service teachers according to the set out targets, and the area of education delivery process, respectively (characteristics, selection process, quality of trainers, instruction, and practicum). 2)    On factors promoting the success of pre-service teacher education in Thailand, it was found that the mean score on the topic was high. The area of professional standards scored the highest among all the areas, while the mean scores on the area of Thailand Qualification Framework (IQF) (program quality assurance) and the area of public policies were high. 3)    On factors hindering the success of pre-service teacher education in Thailand, it was found that in general the mean scores on the topic was high. The scores on the areas of professional standards, Thailand Qualification Framework (IQF) (program quality assurance), and public policies were high. คำสำคัญ : Problem Statementsof Teacher Education, Facilitating Factors, Restraining Factors

Article Details

How to Cite
แย้มรุ่ง ร., ศิระวงษ์ น., สีเขียว ด., เจริญสุข อ., สัจจพิบูล ศ., ประทุมทอง ว., & ด่านสิริสุข ว. (2017). การวิเคราะห์สภาพปัญหา ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ในการผลิตครูของประเทศไทย. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9211
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)

> >>