การศึกษาและการเสริมสร้างการแสดงออกที่เหมาะสมของวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมข้ามเพศ โดยการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา

Main Article Content

สุเทพ อู่พยัคฆ์
สกล วรเจริญศรี
พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์

Abstract

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีจุดม่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการแสดงออกที่เหมาะสมของวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมข้ามเพศ  2) เปรียบเทียบการแสดงออกที่เหมาะสมของวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมข้ามเพศ ก่อนและหลัง เข้ารับการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาการแสดงออกที่เหมาะสมเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีพฤติกรรมข้ามเพศ จำนวน 132 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีพฤติกรรมข้ามเพศ จำนวน 20 คน โดยเลือกแบบเจาะจงที่มีคะแนนการแสดงออกที่เหมาะสม ตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมาและสมัครใจในการเข้าร่วมการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาลักษณะการแสดงออกที่เหมาะสม โดยการศึกษาวิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกที่เหมาะสม การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม และแบบตรวจรายการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคการจำแนกชนิดข้อมูล วิธีการวิเคราะห์คำหลัก 2) แบบประเมินการแสดงออกที่เหมาะสมของวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมข้ามเพศ มีอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.20-0.70 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และ 3) โปรแกรมฝึกอบรมเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการแสดงออกที่เหมาะสมของวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมข้ามเพศ โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) การศึกษาเชิงคุณภาพลักษณะการแสดงออกที่เหมาะสม พบว่า การแสดงออกที่เหมาะสมของวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมข้ามเพศมี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียน ด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และด้านการลดพฤติกรรมเสี่ยง โดยนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย 132 คน ที่มีพฤติกรรมข้ามเพศมีการแสดงออกที่เหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบการแสดงออกที่เหมาะสม พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรมเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการแสดงออกที่เหมาะสม กลุ่มทดลองมีระดับการแสดงออกที่เหมาะสมเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: การฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา การแสดงออกที่เหมาะสม วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมข้ามเพศ ABSTRACT The purposes of this research were to study of assertiveness behavior and to compare the presentation of assertiveness behavior among transgender adolescents before and after attending a psychological training program. The target group contained 132 high school transgender students. However, twenty students whose scores ranged below 25% were selected specifically and on a voluntary basis. This research instruments used for study were 1) The research qualitatively categorized the sample behavior from documentary research, semi-structured and guided interviews, focus group discussions, a check-list using domain analysis and combined multiple aspects 2) The evaluation of assertiveness behavior among transgender adolescents and were provided discrimination between 0.20 and 0.70, with a reliability coefficient of 0.91. 3) In conjunction with the psychological program. The statistical analysis included mean, standard deviation and a t-test. The results of the study were as follows: (1) the presentation of assertiveness behavior among transgender adolescents can be considered according to the following three aspects: education, social interaction and the general risk behaviors. The first-stage analysis demonstrated of the target group contained 132 were moderate level and (2) after participation in the psychological training program, the students showed significant improvements in the presentation of assertiveness behavior at a statistical level of 0.05. Keywords: Psychological Training, Assertiveness Behavior, Transgender Adolescents

Article Details

How to Cite
อู่พยัคฆ์ ส., วรเจริญศรี ส., & ศรีสวัสดิ์ พ. (2020). การศึกษาและการเสริมสร้างการแสดงออกที่เหมาะสมของวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมข้ามเพศ โดยการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/13233
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)

> >>